Blog

บทความและความรู้ด้านการตลาดออนไลน์
Digital Marketing อัปเดตเทรนด์ และ
กลยุทธ์การตลาดก่อนใคร

บทความ

การทำเว็บไซต์หนึ่งขึ้นมานั้น แน่นอนว่าเราต้องการที่จะให้มีคนเข้ามาเยี่ยมชมเยอะๆ ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จัก มี Traffic ไหลเข้าเว็บไซต์ คือ การทำให้คนเสิร์ซเจอเว็บของเราบ่อยๆ หรือการทำ SEO นั่นเอง และในบทความนี้ เราจะมาทำความรู้จัก SEO กันตั้งแต่ศูนย์ ว่า SEO คืออะไร สำคัญต่อธุรกิจออนไลน์อย่างไร และทุกประเด็นที่ต้องรู้เกี่ยวกับการทำ SEO เมื่อคุณอ่านจนจบจะเข้าใจ SEO มากขึ้นและสามารถทำ SEO ได้ด้วยตัวเองอย่างแน่นอน

SEO (Search Engine Optimization) คืออะไร ?

SEO ย่อมากจาก Search Engine Optimization คือ การปรับแต่งเว็บไซต์ให้สอดคล้องกับการทำงานของ Search Engine ส่งผลให้ Search Engine เข้าใจง่ายว่าเว็บไซต์เกี่ยวข้องกับอะไร มีวิธีการปรับแต่งเนื้อหาบนเว็บไซต์ให้สามารถค้นพบได้ง่าย เพื่อให้เว็บไซต์ติดอันดับต้นๆ ของการค้นหา จากการแสดงผลการค้นหาผ่านเครื่องมือค้นหา เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มยอดผู้เข้าชมเว็บไซต์ในระยะยาว และได้รับประโยชน์ที่ชัดเจน เกิด Traffic การเข้าชมเว็บไซต์อย่างต่อเนื่อง  โดยไม่ต้องเสียเงินโปรโมทมากมาย นั่นหมายถึง โอกาสที่ธุรกิจออนไลน์ของคุณจะประสบความสำเร็จย่อมมีมากตามด้วย 

SEO ทำงานอย่างไร

SEO ทำงานโดยแสดงเครื่องมือค้นหาว่าเนื้อหาของคุณเป็นผลลัพธ์ที่ดีที่สุด และมีความเกี่ยวข้องมากที่สุด วิธีการทำต้องมีความแม่นยำ ขึ้นอยู่กับเครื่องมือค้นหาที่คุณนำปรับให้เหมาะสม ดังนั้น หากคุณต้องการปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นในหน้าเว็บไซต์จะต้องเข้าใจและตอบสนองต่ออัลกอริทึมของ Google เช่น หากคุณต้องการการดูวิดีโอที่มากขึ้น นั่นคือ ทั้งหมดที่เกี่ยวกับอัลกอริทึมของ YouTube เนื่องจากเครื่องมือค้นหาแต่ละรายการมีอัลกอริทึมการจัดอันดับ ที่แตกต่างกันจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะครอบคลุมทั้งหมด

3 หัวใจสำคัญในการทำ SEO ให้ประสบความสำเร็จ

โดย 3 หัวใจสำคัญของ SEO เพราะปัจจัยเหล่านี้มีผลเป็นอย่างมากที่จะทำให้เว็บไซต์ของเราสมบูรณ์แบบในแบบฉบับของ Google โดยเราจะต้องมีการจัดการกับ 3 ส่วนนี้ให้ดีและมีประสิทธิถาพ นั่นคือ

ON-SITE

หนึ่งในหัวใจของ SEO คือ การปรับปรุงคุณภาพของเว็บไซต์ในเชิงเทคนิคเพื่อให้ตอบโจทย์กับระบบการประมวลผลของ Google และทำให้ Google พึงพอใจและชื่นชอบเว็บไซต์ของเรา เช่น การปรับปรุงความเร็วของเว็บไซต์, การจัดเรียง Sitemap, การดู URL, การทำ Internal Links และ การทำ Title Tags ให้ตอบโจทย์ เป็นต้น และถ้าเปรียบเทียบ SEO กับการสร้างบ้านแล้วนั้น ถ้าเว็บไซต์ของเราคือบ้าน ส่วนของ On-site เปรียบเสมือนการปรับปรุงหรือเสริมโครงสร้างบ้านของเราให้แข็งแรงและทำให้แขกคนสำคัญอย่าง Google ชื่นชอบและประทับใจโครงสร้างบ้านของเรานั่นเอง

OFF-SITE

คือ ปัจจัยภายนอกเว็บไซต์ของตนเอง ซึ่งจะประกอบไปด้วย การจัดการ Google My Business และการทำ Backlinks หรือ Links Building เพื่อเชื่อมโยงมาจากเว็บอื่นๆ การทำ Off Site นั้นก็ไม่ยาก เพียงแค่นำเสนอและทำบทความลงในเว็บไซต์ที่ไม่ใช่ของตนเอง โดยจะมีการใส่ Keywords รวมถึงลิงก์เว็บไซต์ของเราลงไป เพื่อให้คนคลิกลิงก์กลับมายังหน้าเว็บไซต์ที่ต้องการ เป็นต้น และถ้าเปรียบเทียบเหมือนกัน Off-site ก็จะเหมือนการบอกคนอื่นว่าบ้านเราอยู่ตรงนี้ และทำให้คนเหล่านั้นเข้ามาหาเว็บไซต์หรือบ้านของเราได้จากหลากหลายช่องทาง

CONTENT

อีกหนึ่งหัวใจของ SEO คือ Content หรือเนื้อหาภายในเว็บไซต์ซึ่งการทำให้บทความที่อยู่ในเว็บไซต์เราตอบโจทย์กับ Keywords ที่เลือกเพื่อให้ Google เห็นว่าภาพรวมทั้งหมดสอดคล้องกับสิ่งที่คนกำลังค้นหา โดยครอบคลุมตั้งแต่การเลือก Keywords ที่จะนำมาใช้, การควบคุมความยาวของเนื้อหา, ตำแหน่งของการจัดวาง Keywords และความสอดคล้องของ Keywords กับเนื้อหานั่นเอง และถ้าจะเปรียบส่วน Content ก็จะเหมือนการตกแต่งบ้านให้หน้าอยู่มากขึ้น และตรงกับสไตล์ของผู้อยู่อาศัย และตอบโจทย์ผู้ที่มาเยี่ยมเยียนนั่นเอง

ทำไมการทำ SEO จึงสำคัญต่อการทำ Digital Marketing

การทำตลาดด้วย SEO (SEO Marketing) คือกระบวนการทำตลาดออนไลน์ ซึ่งโฟกัสกับการทำ SEO ให้กับเว็บไซต์ โดยมุ่งหวังให้เว็บไซต์หรือสื่อออนไลน์ (รูปภาพ วิดีโอ) ของเรา จะปรากฏเป็นลำดับต้นๆ ในผลการค้นหา [ยิ่งอันดับหนึ่งหน้า1 ยิ่งดี] นอกอกจากความสำคัญของการทำ SEO ที่กล่าวมาทั้งหมดแล้ว จริงๆ SEO ยังมีประโยชน์ต่อเว็บไซต์และธูรกิจแบรนด์อีกหลายประการ ซึ่งอาจสรุปคร่าวๆ ให้เห็นความสำคัญยิ่งขึ้น ดังนี้

  1. ช่วยให้ธุรกิจหรือแบรนด์เป็นที่รู้จัก (Brand Awareness) ตลอดจนสินค้าและบริการ
  2. ช่วยเพิ่มจำนวนเยี่ยมชมเว็บไซต์ (Website Traffic) ได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
    ช่วยให้แบรนด์ดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย (Visitor Targeting) ที่ตรงกับสินค้า/บริการ หรือคอนเทนต์ของเว็บไซต์ได้ด้วยการเลือกใช้ Keyword
  3. ช่วยเพิ่มอัตราผลลัพธ์มุ่งหวัง (Conversion Rate) ไม่ว่าจะเป็นยอดขาย ยอดกรอกฟอร์ม ยอดสมัครติดตาม ฯลฯ เพราะกลุ่มที่ค้นหามีความสนใจหรือความต้องการอยู่แล้ว (Quality Traffic)
  4. ช่วยประหยัดงบการตลาดและงบโฆษณา (Save Money) เพราะต้นทุนต่ำกว่าการทำการตลาดกลยุทธ์อื่นๆ มาก
  5. ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ (Authority) ให้กับแบรนด์ พร้อมช่วยให้แบรนด์ดูมีความเชี่ยวชาญในสิ่งที่ทำมากขึ้น
  6. ช่วยให้แบรนด์หรือธุรกิจเติบโต (Business Growth) มีกำไรมากขึ้นจากผลลัพธ์ที่สูงขึ้นและค่าใช้จ่ายลดลง

โดยปัจจุบันการทำ SEO (Search Engine Optimization) มีความสำคัญต่อการทำธุรกิจออนไลน์ เพราะเป็นหนึ่งเครื่องมือทางการตลาดที่ช่วยเพิ่มปริมาณ Organic Traffic ส่งผลให้ปริมาณผู้ชมเว็บไซต์พุ่งสูง โดยไม่ต้องเสียเงินโปรโมทมากมาย เชื่อมั่นว่าหลังจากที่ได้อ่านบทความนี้จบความรู้เรื่อง SEO ที่ได้จะช่วยให้คุณนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มโอกาสทำธุรกิจออนไลน์ให้ประสบความสำเร็จได้อย่างแน่นอน

ในการทำการตลาดออนไลน์ในปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเรื่องของการทำ SEO ถือเป็นเทคนิคสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องการทำให้เว็บไซต์ของตัวเองเป็นที่รู้จักมากขึ้น เพื่อให้ธุรกิจได้ลูกค้า สร้างยอดขายได้มากขึ้น ซึ่งการทำ SEO ในปัจจุบันก็มีตัวช่วยมากมาย คุณสามารถศึกษาและเริ่มลงมือทำเองก็ได้ หรือคุณจะเลือกใช้การจ้างผู้เชี่ยวชาญในการทำ SEO ก็ได้เช่นกัน ที่ต้องบอกว่าวิธีดังกล่าวกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น เพราะประหยัดเวลาและเห็นผลลัพธ์ดีกว่า

แต่ก่อนที่จะเริ่มมองหาผู้เชี่ยวชาญเพื่อจ้างทำ SEO นั้นควรต้องศึกษาสิ่งจำเป็นที่ควรรู้และทำความเข้าใจก่อนจ้างบริษัทในการรับทำ SEO ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกเอาเปรียบ ถูกโกงจากผู้ที่ไม่หวังดีหรือผู้ที่ต้องการเอาเปรียบธุรกิจของคุณ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ทำ SEO แล้วจะติดหน้าแรกใน Google ได้ จริงหรือไม่ ?

SEO (Search Engine Optimization) คือ กระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเว็บไซต์ให้มีคุณภาพเพื่อเพิ่มจำนวนการเข้าชม (Traffic) จากผลการค้นหาในคำค้นหาแต่ละคำ ให้เหมาะสมกับ Search Engine เช่น Google, Bing และ Yahoo โดยอาศัยเทคนิคการปรับแต่งองค์ประกอบต่างๆ บนหน้าเว็บไซต์ให้ตรงกับเกณฑ์การพิจารณาอันดับการแสดงผลของ Search Engine นั้นๆ

หรือพูดง่ายๆ SEO คือเทคนิคในการทำให้เว็บไซต์ของคุณ ติดอันดับการค้นหาอันดับต้นๆ (หน้าแรก) ของ Search Engine นั่นเอง โดยยิ่งเว็บไซต์ของคุณทำอันดับบนหน้าการค้นหาในคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการได้ดีมากเท่าไร โอกาสที่ผู้ใช้งานหรือว่าที่ลูกค้าจะเห็นเว็บไซต์ของคุณก็มีมากขึ้นเท่านั้น

ข้อที่ควรรู้ก่อนจ้างบริษัทรับทำ SEO

ปัจจุบันแทบจะทุกธุรกิจล้วนหันมาทำ SEO เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในด้านการทำการตลาดออนไลน์ จึงทำให้มีบริษัทรับทำ SEO มีมากมาย แต่ก่อนที่คุณจะจ้างบริษัทรับทำ SEO ควรศึกษาและทำความเข้าใจก่อน เพื่อให้ไม่โดนหลอก 

1.ไม่พูดเกินจริง

หากคุณจ้างบริษัทรับทำ SEO ก็คงต้องมีการคาดหวังให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับต้น ๆ บน Google  และต้องการให้บริษัทที่รับทำ SEO การันตี ผลลัพธ์ในการทำ SEO ให้คุณด้วย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีบริษัทรับทำ SEO ที่ไหนที่สามารถการันตีผลลัพธ์ของการทำ SEO ได้ เพราะแท้ที่จริงแล้ว Google จะเป็นคนตัดสินการทำ SEO ของคุณ ดังนั้นหากคุณเจอบริษัทรับทำ SEO ไหนที่การันตีผลลัพธ์การติดอันดับบน Google คุณสามารถสันนิฐานได้เลยว่าอาจจะเป็นการเป็นการพูดเกินจริง

2. มีกระบวนการทำงานที่ชัดเจน

บริษัทรับทำ SEO จำเป็นต้องมีการทำงานเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อให้ผลลัพธ์ในการทำ SEO นั้นออกมาดี และมีคุณภาพ สิ่งแรกที่ทางบริษัทรับทำ SEO นั้นต้องทำคือ การทำ On-site technical audit ก่อนเสมอ เพื่อที่เว็บไซต์ของคุณจะประสบความสำเร็จได้อย่างมั่นคง แต่หากคุณเจอบริษัทรับทำ SEO ที่ไม่ได้มีการวางแผน หรือ รายละเอียดขั้นตอนในการทำ SEO ให้คุณนั้น คุณอาจจะต้องมีการตั้งข้อสงสัยกลับไปว่า คุณจะสามารถเชื่อใจบริษัทรับทำ SEO นั้นได้จริงหรือไม่

3. สามารถที่จะเลิกสัญญาได้กรณีที่ผลงานไม่ดี

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การทำ SEO นั้นจำเป็นต้องใช้เวลาเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในการทำ โดยส่วนมากจะมีระยะเวลาในการวัดผลลัพธ์ในการทำ SEO  ขั้นต่ำอยู่ที่ 6 เดือน ทำให้สัญญาในการจ้างบริษัทรับทำ SEO  จะมีระยะเวลาในการทำสัญญาอยู่ที่ 6 – 12 เดือน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่อีก 1 เรื่องที่คุณควรจะทำข้อตกลงกันก่อนจะตกลงจ้างบริษัทรับทำ SEO คือ หากบริษัทรับทำ SEO ไม่ได้ทำตามข้อตกลง หรือ มีผลงานออกมาไม่ดี คุณควรมีสิทธิ์ในการยกเลิกสัญญานี้ได้

4. อัปเดตข้อมูลอยู่เสมอ

 บริษัทรับทำ SEO จะต้องมีการศึกษาข้อมูล และอัปเดตข้อมูลในการทำ SEO อยู่เสมอ เพื่อให้การทำ SEO ออกมามีผลลัพธ์ที่ดี และมีคุณภาพที่สุด และต้องทราบถึงเนื้อหาสาระสำคัญของ Algorithm หลักๆ ได้ทั้งหมดว่า Algorithm แต่ละตัวแตกต่างกันอย่างไร แต่ละตัวมีหน้าที่อย่างไร  เพราะว่าเรื่องเหล่านี้ถือว่าเป็นพื้นฐานของบริษัทรับทำ SEO เพราะฉะนั้นเพื่อที่คุณจะได้ไม่ถูกหลอกคุณควรจะศึกษาข้อมูลเบื้องต้นในการทำ SEO ก่อนจ้างบริษัทรับทำ SEO

5. ใส่ใจเรื่องผลลัพธ์

จุดประสงค์ในการทำ SEO หลัก ๆ คือการทำให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับ แต่จริง ๆ แล้วอีกสิ่งหนึ่งที่เป็นจุดประสงค์ในการทำ SEO คือการสร้างยอดขายทางช่องทางออนไลน์ให้กับธุรกิจของคุณ เพราะฉะนั้นการที่คุณจะเลือกจ้างบริษัทรับทำ SEO ควรคุณเลือกจ้างบริษัทที่มีประสบการณ์ในการทำ SEO ต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้าจริง ๆ และให้ความสำคัญเกี่ยวกับผลลัพธ์ในการทำ SEO ให้กับลูกค้า เพื่อนำมาปรับปรุง และพัฒนาในการทำ SEO ให้ดีขึ้นกว่าเดิม

หากใครกำลังมีวางแผนที่จะจ้างบริษัทรับทำ SEO ควรที่จะต้องรู้เกี่ยวกับเรื่องพื้นฐานเหล่านี้ก่อน เพื่อให้คุณไม่ถูกหลอก หรือไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ที่หวังผลประโยชน์ในธุรกิจของคุณ คาร์ทบิซ อินเตอร์เนชั่นแนล เราเป็นบริษัทที่ให้บริการรับทำ SEO มืออาชีพ ซึ่งได้รวบรวมทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่จะทำให้เว็บไซต์ของคุณได้รับการจัดลำดับในอันดับที่ดีขึ้น ช่วยให้ธุรกิจของคุณมีช่องทางในการทำให้คนทั่วไปรู้จัก และเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าหรือบริการได้มากขึ้น

วิธีการทำ SEO นั้นถือเป็นวิธีการทำตลาดออนไลน์ที่ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรในยุคปัจจุบัน แต่ต้องยอมรับว่ายังคงเป็นอีกวิธีที่ได้รับความนิยมและได้ผลจริงในแง่ของการช่วยเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้ดูมีความเชี่ยวชาญจากการปรับแต่งเว็บไซต์ให้ถูกหลักการทำ SEO การเข้าถึงแบรนด์ผ่านเว็บไซต์จากกลุ่มเป้าหมายที่ง่ายขึ้น เพราะติดอันดับการค้นหาที่ดี หรือแม้กระทั่งยอดขายสินค้าที่สามารถเพิ่มขึ้นได้จากความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ตามวิธีการทำ SEO เป็นต้น

แต่สำหรับคนที่พึ่งรู้จักการทำ SEO ด้วยตัวเอง บางครั้งก็อาจจะไม่ค่อยเข้าใจคำศัพท์บางคำที่ได้เจอ ซึ่งมีบางคำที่มีความเฉพาะจนทำให้หลายคนอาจเกิดความไม่เข้าใจได้ว่าเกี่ยวข้องกับการทำ SEO ยังไง เช่น คำว่า Meta tags, On-page หรือ Off-page โดยบทความขอเอาใจมือใหม่ที่อยากเริ่มทำ SEO ด้วยตัวเองกันหน่อยกับคำศัพท์พื้นฐานที่ต้องรู้จักก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่วงการ SEO เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ดังนี้

10 คำศัพท์พื้นฐานที่ควรรู้ในการทำ SEO (Search Engine Optimization)

1. SEO

หรือที่ย่อมาจากคำว่า Search Engine Optimization เป็นชื่อเรียกกระบวนการโดยรวมของการปรับแต่งให้เว็บไซต์ให้เข้ากับกฏเกณฑ์ของ Search Engine เช่น Google ทั้งนี้ก็เพื่อให้เว็บไซต์อันดับในการค้นหาที่ดี

2. Keyword

Keyword คือคำค้นหาใน Search engine เช่น เมื่อเราคนหาสิ่งใดบน google ก็ตามแล้วพิมพ์คำว่า “วิธีทำ SEO” แล้วกดค้นหา Search engine จะแสดงผลการค้นหา “วิธีทำ SEO” สิ่งนี้เราจะเรียกว่า คีย์เวิร์ด (Keyword)

3. SERPs

SERPs ย่อมาจาก Search Engine Result Pages หรือหน้าที่แสดงผลใน Search Engine เวลาคนใส่ Keyword เพื่อทำการค้นหานั่นเอง ซึ่ง SERPs ที่แสดงผลให้แต่ละคนเห็นนั้นจะต่างกันไปตาม Keyword ที่ใช้ค้นหา, Browsing History และปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย

หน้าที่ของ SERPs นั้นมีอยู่แค่อย่างเดียวก็คือการพยายามที่จะแสดงผลลัพธ์ในการค้นหาให้ตรงกับใจของคนที่ค้นหาได้มากที่สุด เพราะฉะนั้นลองเอา Keyword ที่อยู่ในเว็บไซต์ของคุณเข้าไปในใส่ Search Engine ดูถ้าเว็บไซต์ของคุณไม่อยู่ใน SERPs หน้าแรกๆ แสดงว่าคอนเทนต์ของคุณยังไม่น่าถูกเสิร์ฟให้กับคน หรือ Search Engine สักเท่าไหร่

4. URL

URL ย่อมาจาก Uniform Resource Locator ที่อยู่เว็บที่ใช้สำหรับค้นหาหน้าเว็บแบบเฉพาะเจาะจง โดยทุก URL จะประกอบไปด้วยโดเมนและองค์ประกอบอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการค้นหาหน้าเว็บที่เฉพาะเจาะจง

หากใน URL นั้นมี Keyword อยู่ด้วยจะส่งผลดีกับ SEO แล้วก็เวลาตั้งชื่อของหน้า (หรือแม้แต่ชื่อของโดเมน) แนะนำว่าให้ใช้ภาษาอังกฤษดีกว่าภาษาไทย เพราะภาษาไทยจะมีปัญหาเวลาเอาไปแชร์ นอกจากนั้นแล้วถ้า URL ของคุณที่เป็นภาษาไทยยาวมากๆ มันอาจจะโดนตัดทิ้งด้วย

5. On-page SEO

On-page SEO คือ การทำปัจจัยให้สอดคล้องแก่การจัดอันดับ SEO บนหน้าเว็บไซต์ของเรา ซึ่งการทำ On-page SEO สามารถทำได้ง่าย เพราะเป็นพื้นฐานการทำ SEO บนหน้าเว็บไซต์เราเอง โดยใช้ปัจจัยต่างๆ เพื่อให้ผลลัพท์ของการทำออกมาดี เช่น การวางโครงสร้างเว็บไซต์ (Site structure) เนื้อหาที่ดี ปรับความเร็วหน้าเว็บไซต์ ขนาดตัวหนังสือ คำอธิบาย ลิงก์ต่างๆ บนเว็บไซต์ (Internal link, External link) ที่ทำให้ google เข้าใจสิ่งที่เราต้องการบอกได้ง่ายขึ้น

6. Off-page SEO

Off-page SEO คือ การทำปัจจัย SEO นอกเว็บไซต์ของเรา เช่น การสร้างลิงก์ต่างๆ ให้ส่งมายังเว็บไซต์ของเรา การทำเนื้อหาภายนอกเว็บไซต์อย่างมีคุณภาพ ให้ผู้อ่านติดตาม และมาอ่านต่อบนเว็บไซต์ของคุณ การทำ Backlink ให้ส่งคุณค่า คะแนนอันดับ ส่งกลับมายังเว็บไซต์เรา หรือการทำ Local SEO ที่อ้างอิงโดยใช้การค้นหาตามพื้นที่นั้นๆ

7. Title Tags

Title Tags คือ ชื่อของเว็บไซต์ในแต่ละหน้าเป็นจุดที่สำคัญมาก เพราะถ้าคุณไม่มีชื่อเว็บไซต์ระบุไว้ ระบบแสดงผลของ SERPs ที่กล่าวไว้ข้างต้น ก็จะไม่เข้าใจส่งผลต่อการจัดอันดับ หรือไม่ได้รับการจัดอันดับเพราะ google bot ไม่เข้าใจว่าเราทำเรื่องเกี่ยวกับอะไร

8. Meta Description

คือ คำอธิบายที่ทำให้ผู้ค้นหาทราบว่าเว็บไซต์นี้พูดเกี่ยวกับอะไร โดยจะแสดงที่หน้า SERP ของ Google ซึ่งควรอธิบายรายละเอียดของเว็บไซต์ไว้อย่างชัดเจนเพื่อทำให้คนตัดสินใจคลิกได้ง่ายขึ้น โดยสามารถตรวจสอบได้โดย ถ้า Keyword ที่ใช้ในการค้นหาตรงกับข้อความที่อยู่ใน Meta Description จะแสดงเป็นสีแดง

10. No Follow Link / Do Follow Link

โดยปกติแล้วลิงก์ที่คุณส่งไปหาคนอื่น หรือลิงก์ที่คนอื่นส่งมาหาคุณนั้นสามารถแบ่งได้ง่ายๆ ออกเป็น 2 แบบคือ No Follow Link กับ Do Follow Link นั่นเอง

  • No Follow Link คือ การที่ลิงก์นั้นๆ จะไม่ส่งผลประโยชน์ทางด้าน SEO ไปให้กับ URL นั้นๆ
  • Do Follow Link คือ มันจะส่งผลประโยชน์ทางด้าน SEO ไปให้กับ URL นั้นๆ นั่นเอง

คำศัพท์เหล่านี้ถือเป็นสิ่งที่คนทำ SEO ต้องจำเอาไว้ให้ดี เพราะตลอดการทำ SEO ทุกวิธีการ ทุกขั้นตอน คุณจะต้องเจอคำศัพท์เหล่านี้ตลอดเวลา ดังนั้นการที่คุณได้ศึกษาคำเหล่านี้ตั้งแต่เนินๆ จะสามารถช่วยให้คุณทำ SEO ได้ง่ายขึ้น เพราะถึงยังไงการที่คุณเข้าใจในจุดประสงค์ของขั้นตอนแต่ละอย่าง ก็จะทำให้การปรับปรุงเว็บไซต์มีประสิทธิภาพ และมีความพิถีพิถันจากความเข้าใจในหลักการทำ SEO ด้วยตัวคุณเอง

การทำ SEO หรือ Search Engine Optimization คือเครื่องมือพิเศษที่ช่วยให้บทความที่เราเขียนสามารถติดอันดับต้นๆ หรือหน้าแรกของ Google ได้ และเมื่อเว็บไซต์ของเราติดหน้าแรกก็จะช่วยให้คนอ่านบทความของเรามากขึ้น และการเข้าถึงเว็บไซต์ของเราก็มากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งการทำ SEO ให้มีประสิทธิภาพและติดหน้าแรกนั้นไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด แต่ต้องอาศัยทักษะที่ดีและกลยุทธ์ต่างๆ ในการเขียนบทความ

1. วิเคราะห์ Keyword

สำหรับการเขียนบทความ Keyword ที่เราเลือกไม่จำเป็นต้องใช้คำเดียวกับหน้าเว็บไซต์หลักของเราเสมอไป แต่ควรเลือก Keyword ที่เหมาะสมกับบทความที่เราจะเขียนมากกว่า เน้นไปที่การสร้างคุณภาพให้กับบทความ เพื่อให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับการค้นหาในหลายๆ Keyword แต่อย่างไรก็ตามใช่ว่า Keyword ที่เราคิดขึ้นมาเองจะใช้ได้เสมอไป Keyword ที่เลือกมาเขียนบทความนั้น ต้องมีปริมาณการค้นหาด้วย (Search Volume)

การเลือก Keyword

  • เขียนในสิ่งที่อยากนำเสนอ ส่วนใหญ่แล้วเริ่มง่ายๆ ว่าเราต้องการเขียนเกี่ยวกับอะไร ประเด็นนั้นล่ะ คือ Keyword เช่น จะเขียนเกี่ยวกับ การสร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress คีย์เวิร์ดที่เลือกใช้ก็อย่างเช่น “การสร้างเว็บไซต์” “WordPress” เป็นต้นคิดในมุมผู้ใช้ คนที่สนใจบทความนี้ น่าจะสนใจอะไร
  • คิดในมุมผู้ใช้ คนที่สนใจบทความนี้ น่าจะสนใจอะไร ? นอกจากเราหา Keyword ในมุมของเราแล้ว ลองคิดเพิ่มว่าในมุมของคนที่จะเสิร์ชเข้ามา จริงๆ แล้วเขาต้องการอะไร เช่น ถ้าเราจะเขียนเรื่องการสร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress สิ่งที่คนน่าจะค้นหาเข้ามาก็อย่างเช่น “ทำเว็บไซต์ด้วยตัวเอง” “วิธีสร้างเว็บไซต์” “วิธีใช้ WordPress” เป็นต้น
  • ใช้ Keyword Research Tools ในการหาคีย์เวิร์ด โดย Keyword ที่เราเริ่มต้นอาจจะเลือกเอง ถ้าเราอยากเลือก Keyword ที่ช่วยทำอันดับเว็บไซต์ได้จริงๆ มีคนค้นหาจริงๆ การใช้เครื่องมือ Keyword Research เช่น Google Keyword Planner, Ubersuggest, Keysearch ก็จะเป็นประโยชน์มากๆ จะช่วยบอก Volume ปริมาณการค้นหาของคีย์เวิร์ด รวมถึงประเมินความยากในการแข่งขันของคีย์เวิร์ดนั้นๆ ด้วย และอีกประโยชน์ คือ มันเอาไว้ใช้ช่วยหาวลีที่ใกล้เคียงกันเผื่อให้เราเลือกใช้ด้วย

2. ใส่ Keyword เพื่อให้ Search เจอง่าย

เมื่อทราบ Keyword แล้ว สิ่งต่อมาคือ รู้เทคนิคใส่ Keyword เพื่อให้ Search เจอง่าย โดย Google จะให้ความสำคัญกับเนื้อหาแต่ละส่วนไม่เท่ากัน ถ้าอยากบอก Google ว่า นี่เป็นวลีสำคัญนะ ก็ให้ใส่ Keyword เข้าไปในจุดสำคัญทั้ง 5 ตำแหน่ง ดังต่อไปนี้

  1. Title หรือ ชื่อบทความ
  2. URL ชื่อลิงก์ของบทความ (เรียกอีกอย่างว่า Slug)
  3. Description หรือ คำบรรยายบทความ
  4. Headings หรือ หัวข้อต่างๆ
  5. ชื่อภาพ และ Alt Text ของภาพ

3. เขียนเนื้อหาให้ครอบคลุม และกระจายตัว Keyword อย่างเป็นธรรมชาติ

แน่นอนว่าคีย์เวิร์ดไม่ได้ใส่ลงไปในจุดยุทธศาสตร์ทั้งห้าอย่างเดียว แต่ควรมีเขียนถึงในเนื้อบทความบ้าง เราใช้คำว่า “บ้าง” แปลว่า ไม่ควรใส่มากเกินไป เพราะ Google จะมองว่าเราพยายามใส่มากเกินไป คำแนะนำส่วนใหญ่บอกว่า Keyword density ไม่ควรเกิน 2.5% ซึ่ง Keyword density หมายถึง สัดส่วนของคีย์เวิร์ดเมื่อเทียบกับปริมาณ Text ทั้งหมดในบทความ

คำแนะนำคือ ถ้าเป็นไปได้ เราควรใส่คีย์เวิร์ดในประโยคแรกของบทความ จากนั้นคือให้กระจายหลวมๆ ทั่วทั้งบทความ

4. เขียนบทความให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

นอกจากจะองค์ประกอบอื่น ๆ ที่กล่าวไป เรายังต้องคำนึงถึง “User Experience” หรือประสบการณ์ที่ดีเมื่อกดเข้ามาอ่านบทความในเว็บไซต์เราด้วย โดยบทความเรานั้นต้องอ่านเข้าใจง่าย น่าสนใจ ตอบโจทย์สิ่งที่ต้องการ เพราะหากผู้คนชื่นชอบเนื้อหาของเราก็มีสิทธิ์ที่จะถูกแชร์ออกไป มีคนอ่านมากขึ้น ก็จะได้รับการจัดอันดับที่ดีขึ้นด้วย ซึ่งสามารถทำได้โดยวิธีต่อไปนี้

  • ความยาวของบทความ บทความที่ยาวมีแนวโน้มจะเป็นบทความที่มีคุณภาพ บ่งบอกว่า “ไม่ได้มาเล่นๆ” ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านบอกว่าถ้าเป็นไปได้ซัก 500 – 700 คำ กำลังดี แต่สำหรับเราแนะนำว่าควรอยู่ที่เฉียดๆ 1,000 คำขึ้นไป
  • บทความสดใหม่ (Original Content) คำว่าสดใหม่มีสองนัย คือ เขียนขึ้นเอง ไม่ซ้ำใคร (และต้องไม่ก๊อปปี้หรือเอาบทความอื่นมาเขียนใหม่ด้วย) กับอีกนัยนึง คือ เขียนก่อนใคร
  • ยอด Engagement บน Social Media โดยเฉพาะถ้าบทความของคุณได้รับการแชร์เยอะๆ ก็จะมีผลต่อ SEO สูงมาก หากบทความของคุณมีประโยชน์จริงๆ หรือทำให้ผู้อ่านประทับใจได้ เชื่อว่าผู้อ่านต้องอยากแชร์

5. ความสม่ำเสมอและคอยอัปเดตคอนเทนต์

ลองปรับเปลี่ยนให้บทความของเราเอื้อต่อ SEO มากขึ้นแล้ว และตรวจสอบผลลัพธ์ของบทความว่ามีจำนวนผู้เข้าชมมากน้อยแค่ไหน หรือจำนวนหน้าโดยเฉลี่ยที่ผู้อ่านเข้าถึง เพื่อดูว่าพวกเขาสนใจอ่านหน้าอื่นๆ ต่อหรือไม่

นอกจากนี้ในสายตาของ Search Engine อย่าง Google คอนเทนต์ที่ลงบนเว็บอย่างสม่ำเสมอ หมายถึง เว็บไซต์ได้รับการดูแลเป็นอย่างดี เป็นเว็บไซต์ที่เติบโตอยู่เรื่อยๆ เพราะมีคนเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์อย่างสม่ำเสมอ ในด้านของด้าน Branding การที่เว็บไซต์ใดมีคอนเทนต์ออกมาอย่างต่อเนื่องก็ช่วยให้แบรนด์ได้ปฏิสัมพันธ์และรักษาความสัมพันธ์กับผู้อ่านเรื่อยๆ และถ้ายิ่งมีการวางแผนทำคอนเทนต์ในด้านที่เฉพาะๆ แล้วด้วย แบรนด์ก็จะยิ่งได้รับความน่าเชื่อถืออีกด้วย

ทั้งหมดนี้คือขั้นตอนของการทำให้บทความบนเว็บไซต์ของเราให้ติดหน้าแรกของ Google ได้ อย่างไรก็ตามแม้ว่าเราจะทำทุกอย่างให้บทความเอื้อต่อ SEO อย่างที่สุด แต่ใช่ว่าผลลัพธ์จะเกิดขึ้นได้ในไม่กี่วัน เรายังคงต้องรอและใช้ระยะเวลาหนึ่ง แต่มั่นใจได้ว่าถทำตามขั้นตอนเหล่านี้สม่ำเสมอในทุกๆ บทความ เป็นไปได้ไม่ยากที่เว็บไซต์และบทความของเราจะติดอันดับแรกของการค้นบน Google ได้อย่างแน่นอน

ปัจจุบันธุรกิจที่มีเว็บไซต์ หรือกำลังเริ่มสร้างเว็บไซต์คงหนีไม่พ้นในเรื่องการทำ SEO (Search Engine Optimization) เพื่อให้เว็บไซต์ของแบรนด์เราอยู่เป็นอันดับต้นๆ เมื่อคนค้นหาด้วย Keyword ชื่อแบรนด์ สินค้า หรือบริการ ซึ่งเป็นเรื่องสำหรับมากๆ สำหรับธุรกิจ เพราะนอกจากจะทำให้ลูกค้าค้นหาเว็บไซต์เจอแล้ว ยังมีผลทำให้แบรนด์มีความน่าเชื่อถืออีกด้วย

การทำ SEO คือ อะไร ?

การทำ SEO คือ การผลักดันเว็บไซต์ตัวเองให้ติดหน้าแรกเวลาค้นหาบน google ด้วยคีย์เวิร์ดที่ต้องการ โดยไม่ใช้การลงโฆษณา และต้องทำด้วยกระบวนการต่างๆ ในรูปแบบที่ Google ต้องการด้วย ซึ่งคำนี้ย่อมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Search engine optimization นั่นเอง

ทำไมถึงต้องอยากขึ้นหน้าแรก GOOGLE หรืออันดับแรก

ไม่ใช่เพียงแค่หน้าแรกเท่านั้น แต่การได้ตำแหน่งแรกมาครอบครองคือสิ่งที่ธุรกิจต่างๆ แข่งกันอย่างดุเดือดเพื่อให้เว็บไซต์ของตัวเองได้ไปอยู่ตรงจุดนั้น ความหมายคือยิ่งหน้าเว็บของคุณอยู่อันดับแรกจะทำให้ลุกค้าค้นหาเว็บไซต์เราเจอและยังมีผลทำให้เว็บไซต์ของเรามีความน่าเชื่อถืออีกด้วย หากอันดับ 10 ลงไป โอกาสที่คนจะเข้าไปพบเว็บไซต์ของคุณจากการค้นหานั้นแทบไม่เหลือ แน่นอนว่าหน้า 1 และอันดับที่ 1 ได้รับการเข้าถึงสูงที่สุดอย่างปฏิเสธไม่ได้

พร้อมที่จะเริ่มทำ SEO แล้ว ต้องทำอย่างไรบ้าง

โดยใหญ่มากบริษัทต่างๆ ก็จะจ้างเอเจนซี่การตลาดดูแลเรื่อง SEO ให้เป็นปกติ แต่ประเด็นที่เราอยากให้เจ้าของกิจการทำความเข้าใจกับขั้นตอนต่างๆ นั้น เพื่อที่จะได้ช่วยให้คุณทำงานกับเหล่าเอเจนซี่ที่คุณว่าจ้างได้ง่ายยิ่งขึ้น เราจึงได้นำเทคนิคการทำ SEO แบบง่ายๆ สำหรับมือใหม่มาให้ทุกคนลองไปเริ่มทำเอง

1.ทำแผนการตลาดสำหรับทำ SEO ทั้งหมด

การทำแผนการตลาดล่วงหน้าจะช่วยให้คุณคุมงบประมาณได้ โดยขั้นตอนนี้คุณอาจจะต้องทำไปพร้อมๆ กับทีมเอเจนซี่ที่คุณว่าจ้าง เพื่อให้พวกเขาเสนอแนวทางและการใช้งบในส่วนต่างๆ ว่าจะลงเงินในส่วนของการทำ SEO เท่าไร ส่วนของค่าบริการเท่าไร ระยะเวลากี่เดือน แล้วต้องมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เสริมหรือไม่ ซึ่งเรื่องเหล่านี้หากคุณไม่วางแผนล่วงหน้าอาจทำให้งบบานปลายได้และควรคุยกับคนที่คุณว่าจ้างให้ชัดเจนถึงสิ่งที่คุณจะได้ เช่น จะมีรายงานผลการทำ SEO ทุกๆ เดือนหรือไม่ เปลี่ยน Keyword ได้กี่ครั้ง ใครจะเป็นคนกำหนด Keyword เป็นต้น

2. ค้นหา Keyword ที่ต้องการให้เว็บไซต์คุณติดอันดับหรือนำมาทำ SEO

หากคุณเป็นธุรกิจใหม่ยังไม่มีข้อมูลใดๆ ทั้งนั้น สามารถเริ่มทำได้ด้วยการค้นหา Keyword เป็นอันดับแรก ซึ่งหากอยากลองค้นหาด้วยตัวเองก็จะมีเครื่องมือช่วยค้นหาต่างๆ ดังนี้ หากต้องการใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพอาจจะต้องจ่ายค่าบริการในบางแพลตฟอร์ม หลักๆ แล้ว Keyword ที่ Optimise ควรมี Search Volume หรือมีปริมาณการเสิร์จทุกๆเดือน และมีความสัมพันธ์กับธุรกิจของคุณ

2. ค้นหา Keyword ที่ต้องการให้เว็บไซต์คุณติดอันดับหรือนำมาทำ SEO

หากคุณเป็นธุรกิจใหม่ยังไม่มีข้อมูลใดๆ ทั้งนั้น สามารถเริ่มทำได้ด้วยการค้นหา Keyword เป็นอันดับแรก ซึ่งหากอยากลองค้นหาด้วยตัวเองก็จะมีเครื่องมือช่วยค้นหาต่างๆ ดังนี้ หากต้องการใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพอาจจะต้องจ่ายค่าบริการในบางแพลตฟอร์ม หลักๆ แล้ว Keyword ที่ Optimise ควรมี Search Volume หรือมีปริมาณการเสิร์จทุกๆเดือน และมีความสัมพันธ์กับธุรกิจของคุณ

3. ปรับแต่งเว็บไซต์

หากคุณยังไม่มีเว็บไซต์มาก่อน ก็ถือว่าได้เปรียบเพราะสามารถสร้างเว็บไซต์ให้สอดคล้องกับสิ่งที่ Google กำหนดไว้สำหรับการทำ SEO ได้ตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ต้องมาแก้กันให้วุ่นวาย แต่ถ้ามีเว็บไซต์เก่าอยู่แล้วและไม่ได้อัปเดตเลยเป็นเวลาหลายปี ถึงเวลาที่คุณจะต้องปรับเว็บไซต์ให้สนับสนุนการทำ SEO แล้ว

สำหรับเว็บไซต์ที่จะได้คะแนนจาก Google จะต้องเป็นหน้าเว็บที่มีคอนเทนต์ที่แฝงไปด้วย Keyword ในตำแหน่งต่างๆ กระจายอยู่ทั่วทุกหน้าของเว็บไซต์ ตรงนี้ล่ะที่คุณจะได้นำ Keyword ที่หาในหัวข้อก่อนหน้ามาใช้ เพราะเว็บไซต์ที่ SEO ขึ้นเร็วๆ มีลักษณะที่เหมือนกันอย่างหนึ่งคือ มีตัวหนังสือเยอะ หรือที่เรียกว่า “Onsite” ตรงส่วนนี้อาจทำเพียงครั้งเดียวเลยก็ได้ถ้าไม่มีการเปลี่ยน Keyword และสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือ Link ที่ต้องใส่ทั้งภายในเว็บไซต์ตัวเอง (ลิงก์กันไปมาระหว่างหน้าต่างๆ) กับ Link ที่แปะไว้นอกเว็บไซต์แล้วชี้เป้ากลับเข้ามายังเว็บไซต์ของตน (Backlink)

4. ส่งคอนเทนต์ไปสู่เว็บไซต์ข้างนอก

วิธีการนี้เราจะเรียกว่า Outreach โดยส่วนประกอบของคอนเทนต์ประเภทนี้นอกจากจะแฝงคำ Keyword ไปในคอนเทนต์แล้วยังจะมีการแทรกลิงก์เพื่อทำเป็น Backlink ให้คนอ่านคอนเทนต์คลิกเข้ามาบนหน้าเว็บไซต์ของเรา

5. ตรวจสอบพร้อมปรับปรุงแก้ไข

การทำ SEO นั้นไม่ใช่ทำเสร็จแล้วปล่อยไปเลย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้งที่คุณจะต้องเข้ามาดูการจัดลำดับของ Keyword ที่คุณได้ทำการกำหนดเข้าไป รวมถึง Rank ของหน้าเว็บไซต์ว่าตอนนี้ Keyword คำไหนบ้างที่ติดหน้าแรก แล้วค่อยมาโฟกัสที่คำอื่นๆ ที่ยังไต่ลำดับขึ้นไปเรื่อยๆ หาก Keyword ของคุณกว้างเกินไป การทำ SEO อาจจะเห็นผลช้าหรือไม่เห็นผลเลยก็ได้ ดังนั้นในบางกรณีคุณอาจจะต้องมีการปรับ เปลี่ยน Keyword บางคำใหม่ (แต่เปลี่ยนบ่อยๆ ก็ไม่ส่งผลดี เพราะการเปลี่ยนใหม่ก็เท่ากับคุณเริ่มใหม่)

6. ให้ Social Media เป็นตัวช่วย SEO ของคุณ

คนอาจยังไม่รู้ว่าแท้จริงแล้ว Social Media ก็มีส่วนช่วยให้การทำ SEO ของคุณได้ด้วยเช่นกัน โดย Social Media จะช่วย SEO ในแง่ของการที่คอนเทนต์ถูกแชร์ออกไป อาจจะเป็น Outreach หรือ Blog ก็ได้ เพราะในคอนเทนต์เหล่านั้นเราใส่ Keyword พร้อมกับทำ Backlink ไว้อยู่แล้ว เมื่อมีการแชร์เยอะ คนอ่านมาก คะแนนของ Keyword นั้นๆ ก็จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นไปตามลำดับ

บทความนี้เราได้อธิบายอย่างละเอียดว่า SEO คืออะไร ทำไมต้องทำ SEO ให้อยู่อันดับสูงๆ และประโยชน์ของการทำการตลาดดิจิทัลแบบนี้คืออะไร ดังนั้นหากคุณรู้และเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า SEO คืออะไร และลองปรับใช้ดู ถึงตอนนั้นคุณจะไม่กล้ามองข้าม SEO อีกต่อไป

ความรู้เรื่อง SEO นั้นมีอยู่มากมาย เรียนรู้เท่าไหร่ ก็ไม่มีวันจบสิ้น เพราะการทำ SEO ไม่มีสูตรสำเร็จ เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ แต่ละธุรกิจใช้กลยุทธ์ที่ไม่เหมือนกัน สำหรับบทความนี้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับผู้แสวงหาแนวทางทำ SEO ที่ถูกต้อง หากคุณอ่านตั้งแต่ต้นจนจบ จะเข้าใจ วิธีการทำ SEO Google ทุกขั้นตอน และสามารถนำไปใช้จนเว็บไซต์ของคุณได้อันดับดีๆ ในผลการค้นหาอย่างแน่นอน

การทำ SEO คืออะไร ?

การทำ SEO คือ กระบวนการปรับแต่งเว็บไซต์เพื่อเพิ่มการแสดงผลสำหรับการค้นหา Keyword ที่เกี่ยวข้องและมีเป้าหมายเพื่อติดอยู่บนหน้าแรกของ Search Engine ซึ่งการปรับแต่งเว็บไซต์นั้นมีทั้งแบบ On-page SEO และ Off-page SEO ยิ่งถ้าอันดับการค้นหาหน้าเว็บไซต์ของคุณดีขึ้นมากเท่าไร ธุรกิจของคุณก็ยิ่งมีโอกาสดึงดูดและได้รับความสนใจจากกลุ่ม “ลูกค้าปัจจุบัน” หรือ “ว่าที่ลูกค้า” ของเราในอนาคตให้หลั่งไหลมายังเว็บไซต์ธุรกิจของคุณมากขึ้น
ซึ่งผลลัพธ์ที่ตามมาคือ มีโอกาสได้ Organic Traffic เพิ่มขึ้น โอกาสที่เว็บไซต์จะประสบความสำเร็จจึงเพิ่มตามซึ่งสิ่งที่เราจะต้องปรับแต่งเว็บไซต์ก็อยู่หลากหลายองค์ประกอบด้วยกัน

หากนึกภาพตามคือ เวลาจะค้นหาอะไรบน Google พอกดปุ่มค้นหาไปแล้ว คุณเจอเว็บไซต์ไหนขึ้นมาเป็นอันดับแรก ๆ คุณก็มักจะชอบกดเว็บไซต์นั้นใช่ไหม เช่น ค้นหาคีย์เวิร์ดคำว่า “วิธีเก็บเงินทำจมูก” คุณจะเห็นว่าเว็บไซต์ของ “MAKE by KBank” ขึ้นมาเป็นอันดับแรกนั่นเอง ซึ่งคนส่วนใหญ่เมื่อเห็นแบบนี้ พวกเขาก็แทบจะไม่คิดอะไรมากและกดเข้ามาอ่านเลย

ขั้นตอนการทำ SEO Google

1. เข้าใจการทำงานของ Search Engine

Search Engine คือ โปรแกรมค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ผู้ใช้ Search Engine ต้องการทราบ
โดยการใช้งาน Search Engine นั้น เมื่อผู้คนพิมพ์คำหรือวลีกับสิ่งที่ตัวเองอยากรู้ (หรือที่เรียกว่า คีย์เวิร์ด) ในช่องค้นหา Search Engine ก็จะแสดงรายชื่อเว็บไซต์ วิดีโอ รูปภาพ หรืออื่นๆ (ขึ้นอยู่ว่าเราค้นหาอะไร) ซึ่งเกี่ยวข้องกับคำนั้นๆ เพื่อให้ผู้คนได้เข้าไปหาข้อมูลที่ต้องการต่อ

2. ทำ Keyword Research หาและเลือกคำค้นมาใช้กับเว็บไซต์

การทำ Keyword Research หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ เลยคือ การวางแผนและหา Keyword ที่เหมาะสมให้กับเว็บไซต์ ยิ่งถ้าหากคุณรู้ว่าธุรกิจของคุณนั้นควรใช้ Keyword อะไร กลุ่มว่าที่ลูกค้านั้นเขาใช้คำไหนในการค้นหาสิ่งที่เขาต้องการ ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการติดหน้า Google ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการทำ Keyword Research จะยังเป็นตัวช่วยในการกำหนดแผนการทำ SEO ในเรื่องต่างๆ อีกหลายเรื่องด้วย เช่น การปรับแต่ง On-Page, การทำ SEO Content, การวางโครงสร้างเว็บไซต์ (site structure), การโปรโมตคอนเทนต์, การทำ Link Building, การเพิ่ม Traffic ให้กับเว็บไซต์, การเพิ่มโอกาสการเติบโตของธุรกิจ เป็นต้น

3. เข้าใจ Site Structure หรือโครงสร้างเว็บไซต์ที่ดีต่อ SEO

การวาง Site Structure เป็นการออกแบบโครงสร้างของเว็บไซต์ให้ดีต่อการทำ SEO เพื่อให้โปรแกรมเก็บข้อมูลสามารถเข้ามาสำรวจเว็บไซต์เพื่อเก็บข้อมูลได้อย่างสะดวก ซึ่งช่วยทำให้ Search Engine เข้าใจเว็บไซต์ของคุณได้ง่ายว่า เกี่ยวกับอะไรและแต่ละ Page เชื่อมโยงถึงกันอย่างไร ทำให้มีแนวโน้มได้รับการจัดอันดับที่ดีขึ้น

4. ปรับแต่งเว็บเพจให้มีติดอันดับ (On – Page SEO)

On-Page SEO จะเป็นการปรับแต่งหน้าเว็บไซต์ในหน้าที่ต้องการทำอันดับ SEO ให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพดีขึ้นทั้งจากฝั่งผู้ใช้งาน พวกเขาจะค้นหาหน้าเว็บไซต์ของคุณเจอได้ไวขึ้น ทั้งจากการตั้งชื่อ SEO Title, การทำ Description, การเขียน URL ที่อ่านออก ฯลฯ ซึ่งช่วยทำให้ผู้ใช้งานรู้ได้ว่า เว็บไซต์ของเรามีคำตอบที่เขาต้องการอยู่จริงๆ หรือเปล่าจากการอ่านชื่อ และคำอธิบายจากผลลัพธ์การเสิร์ชที่พบ

5. ทำ Link Building เรียก Backlink คุณภาพ

การทำ Link Building นี้ ยังเรียกกันอีกอย่างด้วย คือ การทำ Off-page SEO หมายความว่า การทำ SEO นอกเว็บไซต์ของเราเอง ซึ่งต้องอาศัยทั้งศาสตร์-ศิลป์ เป็นเรื่องเทคนิค แต่ก็ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์และความประณีตด้วยเช่นกัน จึงจะสามารถได้ลิงก์อ้างอิงกลับหรือ “Backlink” มาให้เว็บของเราได้ หากเว็บไซต์ได้ Backlink กลับมาเยอะ ก็น่าจะช่วยให้เว็บไซต์ทำอันดับได้ดีขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะทำ Backlink จากเว็บไหนก็ได้ เพราะไม่ใช่ทุกลิงก์ที่มีคุณภาพและส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อเว็บไซต์ของเรา

6. ตรวจสอบอันดับบน Search Engine

หลังการทำ SEO การตรวจสอบอันดับเว็บไซต์เพื่อวัดผลลัพธ์เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ มารู้จัก 5 สุดยอดเครื่องมือตรวจสอบอันดับเว็บไซต์ที่ช่วยให้คุณรู้อันดับได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย

หากคุณเคยมองว่าการทำ SEO เป็นเรื่องที่เข้าถึงยากเป็นเรื่องเฉพาะทางที่คนเก่งๆ เท่านั้นจึงจะสามารถทำได้และถ้าคุณอ่านมาถึงตรงนี้ล่ะก็ จะเห็นได้ว่า SEO เป็นเรื่องที่สามารถศึกษาให้เข้าใจและทำด้วยตัวเองได้ เพียงแต่อาจจะต้องใช้เวลาและการทำอย่างสม่ำเสมอเท่านั้น

ขั้นตอนแรกในการทำ SEO และการทำตลาดแบบ Search Engine Marketing (SEM) นั้นก็คือการวิเคราะห์ Keyword SEO ซึ่งมีความสำคัญอย่างมาก เพราะจะทำให้ทราบว่า กลุ่มเป้าหมายใช้คำอะไรค้นหาข้อมูล และ ต้องการข้อมูลลักษณะไหน จึงช่วยให้นักการตลาดออนไลน์วางแผนได้ว่า จะนำเสนอเนื้อหาอะไร โปรโมทสินค้าแบบไหน ถึงจะบรรลุเป้าหมายได้

การทำ Keyword คืออะไร ?

Keyword คำหรือวลีที่ผู้ใช้ค้นหาบน Search Engine ตัวอย่าง Keyword ก็อย่างเช่น หากคุณต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับ SEO ก็สามารถค้นหาด้วยคำว่า “SEO คืออะไร” หรือหากกำลังหาที่พักในภูเก็ต ก็สามารถพิมพ์คำว่า “โรงแรม ภูเก็ต ติดทะเล” ลงไปในช่องค้นหาได้เลย สำหรับบทความนี้ เราจะโฟกัสที่คีย์เวิร์ดสำหรับการทำ SEO เป็นหลัก แต่สามารถใช้เป็นไอเดียสำหรับคีย์เวิร์ดบนช่องทางอื่น ๆ ได้เช่นกัน

Keyword Research คืออะไร ?

Keyword Research คือ กระบวนการที่ใช้สืบหาคำหรือวลีที่ผู้ใช้งานค้นหาข้อมูล สินค้า บริการ และ คอนเทนต์ บนเครื่องมือค้นหา (Search Engine) เช่น Google, Bing, Youtube และนำมาวิเคราะห์ เปรียบเทียบ จัดลำดับความสำคัญ เพื่อเพิ่มยอดผู้เข้าชมเว็บไซต์

Keyword ที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไรบ้าง

1. เกี่ยวข้องกับแบรนด์

keyword ต้องเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือเป้าหมายของเว็บไซต์ เช่น ชื่อ รุ่น ยี่ห้อ ของสินค้า หรือ ปัญหาของลูกค้า ผลลัพธ์จากการใช้สินค้า ฯลฯ ยิ่ง keyword เกี่ยวข้องและเฉพาะเจาะจงไปยังสินค้าคุณเท่าไร โอกาสที่ผู้ที่เข้าเว็บไซต์จะกลายเป็นลูกค้า ยิ่งมากเท่านั้น

2. มีคนใช้

หลายคนเข้าใจผิดว่า การหา Keyword ที่ดี คือ หาคำที่บอกชื่อลักษณะสินค้าแบบตรงๆ ถูกหลักภาษา ซึ่งความจริงไม่ใช่แบบนั้น คีย์เวิร์ด คือคำที่กลุ่มเป้าหมายของคุณใช้ ซึ่งอาจเป็นคำต่างคำที่หมายถึงสิ่งเดียวกัน หรือแม้แต่คำที่สะกดผิด หากมีปริมาณค้นหาสูง ก็เป็น Keyword ที่ดีได้ เช่น

  • คำที่ผิดไวยกรณ์อย่างสิ้นเชิง แต่มีปริมาณค้นหาสูง แถมคู่แข่งต่ำ เช่น มอไซค์ น่ำตาล แทปเลต ฯลฯ
  • คำต่างคำที่หมายถึงสิ่งเดียวกัน เช่น “คอนโด ห้องเช่า ห้องพัก ที่พัก” , “มือถือ Smartphone สมาร์ทโฟน”, “ต่างหู ตุ้มหู เครื่องประดับหู”

3. มีปริมาณค้นหาพอสมควร

Keyword ที่ดีต้องมีปริมาณค้นหาพอสมควร เพราะยิ่งมากเท่าไร โอกาสเพิ่มยอดขายยิ่งมากเป็นเงาตามตัว Keyword ที่ไม่มีคนค้นหาหรือมีปริมาณค้นหาน้อยเกินไป ก็เหมือนทำเลขายของที่ร้างผู้คน แม้ร้านมีสินค้าดีแค่ไหน ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จ

4. แข่งขันได้

Keyword ที่ดีต้องแข่งขันได้ หมายถึง เมื่อเลือก Keyword นี้ใส่ไปในเว็บเพจ เราสามารถทำให้เว็บเพจมุ่งหวังปรากฏในหน้า 1 – 2 ของ Google ได้ ยิ่งอันดับเหนือกว่าคู่แข่งได้ยิ่งดี

5. เป็นคำประเภท “High Commercial Intent”

เราควรให้ความสำคัญกับ Keyword แบบ “High Commercial Intent” เป็นพิเศษ เพราะเป็น keyword ทำเงิน ช่วยเพิ่มยอดขาย โดย High Commercial Intent keyword มี 2 แบบหลัก คือ

  1.  Buy Now Keyword คือ กลุ่มที่ถูกใช้โดยคนที่มีกำลังซื้อและต้องการสินค้าอย่างเร่งด่วน เช่น
  • “จอง ที่พัก เชียงใหม่ แม่ริม” (เดินทางชัวร์ จึงต้องการจองที่พัก)
  • “ขาย มอไซด์เก่า มีทะเบียน พร้อมส่ง”
  1. Product Keyword คือ กลุ่มคำที่ระบุ ยี่ห้อ รุ่น ลักษณะ ของสินค้าหรือบริการ แม้เป็นคำที่มีพลังในการซื้อน้อยกว่า “Buy Now keyword” แต่ก็น่าสนใจ เพราะมันถูกใช้โดยคนที่มีใจเอนเอียงสู่สินค้าอยู่แล้ว เช่น
  • “รีวิว ห้องพัก aaa สวยๆ” (บอกเล่าประสบการณ์ดีๆ กับห้องพักสวยๆ)
  • “10 ที่พักเชียงใหม่ ราคาถูก”

Keyword นั้นถ้าให้เปรียบเทียบก็เหมือนกับเส้นทางที่เชื่อมระหว่างผู้บริโภคกับเว็บไซต์ หากเราเลือกคำหรือ Keyword ได้แม่นยำและถูกต้อง ก็ถือเป็นช่องทางในการคัดกรองผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่สนใจในเนื้อหาและสินค้าของเราจริง ๆ และมีโอกาสสูงที่พวกเขาจะแปรสภาพจากผู้บริโภคทั่วไปเข้ามาเป็นลูกค้าของเราได้หากเราเลือกใช้ Keyword ที่มีคุณภาพและมี Search Volume ที่ดีพอมาสร้างคอนเทนต์บนเว็บไซต์ได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นในการทำ SEO จึงได้มีขั้นตอนที่เรียกว่า “การทำ Keyword Research” ขึ้นมา

การทำ SEO On-page มีหลากหลายเรื่องที่ให้เราต้องปรับแต่งและลงมือทำ เพื่อให้ทั้งคนที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ (หรือลูกค้าของเรา) และทั้งอัลกอริทึมของ Google ชอบ ทั้งนี้ SEO On-page เป็นวิธีการทำ SEO บนเว็บไซต์ ที่เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของการทำ SEO เพื่อทำให้เว็บไซต์ของเราติดอันดับในหน้าแรกๆ ของ Google ได้ ดังนั้นในฐานะของเจ้าของเว็บไซต์หรือคนทำ SEO การทำ On-page SEO มีอะไรต้องทำบ้าง ทำความเข้าและอ่านวิธีการทำ SEO On-Page ได้ในบทความนี้เลย

SEO On-Page คืออะไร ?

SEO On-Page คือ การปรับแต่งเนื้อหาบนหน้าเว็บไซต์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพให้ดีพอต่อผู้ใช้งานและตัวอัลกอริทึมของ Search Engine ทำให้เข้าใจได้ง่ายว่า เว็บไซต์ของคุณเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อการทำ SEO อีกด้วย

ทำไมการทำ SEO On-Page จึงเป็นเรื่องสำคัญ

แน่นอนว่า การทำ SEO On-page มีความสำคัญอย่างยิ่งกับการทำ SEO เพราะเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของ 3 องค์ประกอบหลักในการทำ SEO ให้เว็บไซต์ติดอันดับ ซึ่ง SEO On-page ก็ดูเหมือนว่าจะมีน้ำหนักคะแนนในการทำ SEO มากกว่าองค์ประกอบอื่นๆ เพราะสัมพันธ์โดยตรงกับการทำงานของ Search Engine และการเสพคอนเทนต์/ท่องเว็บไซต์ของคน

เทคนิคการทำ SEO On-Page ให้เป็นอมตะ

การปรับแต่งในส่วนของเนื้อหา และ Keyword

วิธีการทำ SEO อันดับแรก คือ การหา Keyword ที่ดีเพื่อมาต่อยอดเขียนบทความ เมื่อเราเขียนบทความเสร็จ อันดับต่อมาคือ การใส่และกระจายคีย์เวิร์ดในบทความของเราอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่มากหรือน้อยจน Google ตรวจไม่เจอ และไฮไลท์สำคัญที่พลาดไม่ได้เลย คือ เนื้อหาและคีย์เวิร์ดในบทความของเราต้องสอดคล้องกันด้วย

นอกจากนี้การใส่ตัวหนา Bullet และ Number List ยังสามารถช่วยให้บทความของคุณอ่านง่ายหรือถ้าโชคดี Google อาจจะนำเนื้อหาคุณไปแสดงในรูปแบบ Featured Snippets ก็ได้

Heading Tag

การทำ SEO จะขาดการใส่ Heading หรือ หัวข้อหลัก หัวข้อย่อยไปไม่ได้เลยเพราะ Google ต้องอาศัยการอ่าน H1 H2 H3 เป็นตัวแบ่งแยกหัวข้อต่าง ๆ ในบทความ โดยปกติแล้ว Heading จะมีตั้งแต่ H1 – H6 แต่เรามักจะใส่หัวข้อไม่เกิน H3 มิฉะนั้นเนื้อหาอาจจะดูซับซ้อนเกินไปได้ และ H1 ต้องมีเพียงตัวเดียวเท่านั้นก็คือ หัวข้อบทความ นอกจากนี้เราควรใส่ Keyword ลงไปในหัวข้อต่าง ๆ ด้วย เพื่อดันคีย์เวิร์ดหลักของเราให้เด่นยิ่งขึ้น

Image Alt

การใส่รูปภาพประกอบในการทำ SEO ควรใช้คำสั้น ๆ ไม่ซับซ้อน และควรใส่คีย์เวิร์ดด้วยทุกภาพเพราะ Google bot จะไม่สามารถเข้าใจรูปภาพได้หากไม่มีภาษา HTML และขนาดไฟล์ของรูปก็ไม่ควรใหญ่เกินไป หากในบทความของเรามี Video ประกอบ เราควรใส่ Video Transcript และแนะนำให้ใช้วิดีโอที่มาจาก YouTube เพราะสองเว็บนี้เขาเป็นเครือเดียวกัน

เทคนิคการปรับแต่งรูปภาพที่ดีต่อ SEO

  • ทุกรูปภาพควรใส่ Alt Text (Alt Text คือคำอธิบายรูปภาพที่แทรกอยู่ใน HTML Code ช่วยให้ Search Engine เข้าใจว่า รูปภาพเกี่ยวกับอะไร) โดยตัวอักษรใน Alt Text ควรมี keyword อยู่
  • ไม่ควรใช้ Alt Text ที่ซ้ำกัน แต่ให้เขียนอธิบายแต่ละรูปภาพตามจริง
  • ปรับขนาดรูปภาพให้เหมาะสมกับอุปกรณ์แสดงผล อันหมายถึง รูปภาพที่แสดงบน Mobile ควรมีขนาดเล็กกว่าที่แสดงบน Desktop การใช้รูปที่มีขนาดใหญ่เกินไป อาจทำให้ความเร็วในการแสดงเนื้อหาของเว็บเพจช้ากว่าที่ควร

การปรับแต่ง Meta Tag

ถือเป็นอีกองค์ประกอบที่สำคัญมากสำหรับการทำ On – Page SEO เพราะเป็นส่วนที่อธิบายเนื้อหาทั้งหมดของเว็บเพจนั้น ๆ ว่ามีข้อมูลเกี่ยวกับอะไรบ้าง เราสามารถแบ่ง Meta Tag ออกเป็น 2 ส่วนคือ Title Tag, Meta Description

การทำ SEO On-page เป็นองค์ประกอบสำคัญในการทำ SEO ข้อที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ ซึ่งสิ่งที่ต้องทำก็ประกอบไปด้วยเรื่องต่างๆ ทั้งการทำคอนเทนต์ให้มีคุณภาพ การใส่ Tag ต่างๆ เพื่อกำกับให้ Google เข้าใจเนื้อหาของเว็บไซต์มากขึ้น และ SEO On-page ยังเป็นพื้นฐานของการทำ Off-page SEO หรือการทำ SEO นอกเว็บไซต์อีกด้วย หากจะทำ SEO ให้สำเร็จ ทำเว็บไซต์ให้ติดอันดับ จึงควรใส่ใจกับการทำ On-page SEO อย่างจริงจัง เพื่อให้พื้นฐานของการทำ SEO แข็งแรง เว็บไซต์ไม่ตกอันดับ

เมื่อพูดถึงการโฆษณาในปัจจุบัน ต้องยอมรับว่าเป็นสิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และค่อนข้างมีบทบาทสำคัญในการทำธุรกิจ เพราะเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการตลาดที่เห็นผล ในบทความนี้ คุณได้รู้จักกับการโฆษณาออนไลน์ (Digital Advertising) มากยิ่งขึ้น เข้าใจเหตุผลว่าทำไมคุณถึงควรจะต้องทำโฆษณาออนไลน์ และเข้าใจความแตกต่างระหว่างการทำโฆษณาออนไลน์และออฟไลน์อีกด้วย

Digital Advertising คืออะไร

Digital Advertising คือ การซื้อโฆษณาบนพื้นที่โลกออนไลน์เพื่อโปรโมทสินค้าไปยังกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก การซื้อแอดสามารถทำได้หลายช่องทางไม่ว่าจะเป็น Facebook, Google Twitter, Instagram, Tik Tok และช่องทางอื่นๆ ซึ่งร้านค้าออนไลน์สามารถเลือกช่องทางได้ตามความเหมาะสมกับสินค้าของตนเอง สำหรับมือใหม่อาจจะมองว่าการซื้อแอดนั้นเป็นเรื่องยาก แต่คนที่ซื้อบ่อยๆ จะพบว่าการทำโฆษณาให้ดีเท่าตัวเก่านั้นยากกว่า ดังนั้น ทั้งมือใหม่และมือเก่าควรศึกษาและอัปเดตข้อมูลการซื้อแอดใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการโปรโมทสินค้า ทำให้ธุรกิจของตนเองเติบโต ช่วยเพิ่มยอดขาย และเพิ่มกำไรแบบเน้นๆ

ทำไมต้องโฆษณาออนไลน์ ?

การโฆษณาออนไลน์เป็นวิธีที่ตอบรับการใช้ชีวิตของคนยุคใหม่ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นความนิยมในการใช้สื่อ Social Network หรือการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมต่อกับโลกออนไลน์ได้ตลอดเวลาไม่จำกัดสถานที่ นอกจากนี้มันยังมีข้อดีที่สร้างโอกาสเติบโตให้กับธุรกิจ SMEs อีกด้วย

ทำไมแบรนด์ต้องพึ่งพาการโฆษณาออนไลน์ (Digital Advertising)

1. ผู้ใช้งานบนโลกออนไลน์เพิ่มมากขึ้นในทุกปี

ปัจจุบันจะเห็นได้ชัดว่าในจำนวนผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียเพิ่มขึ้นสูงเรื่อยๆ ในทุกปี แสดงให้เห็นว่าโลกออนไลน์กำลังขยายตัวใหญ่มากขึ้น เปิดรับผู้คนมากมายมากยิ่งขึ้น ก็ยิ่งมีโอกาสที่กลุ่มลูกค้าที่แบรนด์มุ่งหวังหรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเข้าไปร่วมใช้งานโลกออนไลน์มากขึ้น และการที่แบรนด์ต้อง ‘จ่ายเงิน’ เพื่อโฆษณาสินค้าและบริการแล้วโฆษณานี้ก็ควรจะไปแสดง ในพื้นที่ที่คนกลุ่มนั้นใช้หรือผ่านหูผ่านตาอยู่บ่อยครั้ง ย่อมเป็นผลดีต่อแบรนด์

2. โฆษณาออนไลน์ช่วยให้แบรนด์ได้บรรลุเป้าหมาย (Goals) ของตัวเอง

ธุรกิจในยุคสมัยปัจจุบันจำเป็นต้องพึ่งพาโฆษณาออนไลน์ก็เพราะว่าแบรนด์แต่ละแบรนด์นั้นมีเป้าหมายในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกันออกไป บางแบรนด์ก็จำเป็นต้องสร้างฐานลูกค้าก่อนทำการขายอย่างเต็มที่ หรือบางแบรนด์ก็มีเป้าหมายในการขายสินค้าและบริการให้ได้ และโฆษณาออนไลน์ก็มีวัตถุประสงค์ในการตอบโจทย์ความต้องการเหล่านี้ของแบรนด์เช่นเดียวกัน

3. โฆษณาออนไลน์ช่วยให้แบรนด์ทำการตลาดได้ง่ายขึ้น

การใช้โฆษณาออนไลน์มาเป็นกระบอกเสียงโปรโมทสินค้าและบริการของตัวเองนั้น แบรนด์ยังสามารถเลือกได้ว่าจะส่งเสียงนี้ไปยังกลุ่มลูกค้าแบบไหน บนแพลตฟอร์มอะไร หรือเลือกรูปแบบของสื่อที่ต้องการใช้สื่อสารกับพวกเขาและยังสามารถติดตามข้อมูลทุกอย่างได้อีกด้วย ซึ่งประโยชน์ของการซื้อโฆษณาออนไลน์คือ

  1. โฆษณาออนไลน์ช่วยให้แบรนด์จัด Audience Segment ได้ เพราะการที่แบรนด์เลือกใช้โฆษณาออนไลน์มาโปรโมทสินค้าและบริการจะช่วยให้แบรนด์นั้นสามารถส่ง ‘สาร’ ไปยังผู้รับได้ชัดเจนและเจาะจงได้มากขึ้น
  2. โฆษณาออนไลน์ให้อิสระในการเลือก Ads Format และ Platform ไม่ใช่ว่าต้องใช้แค่ Facebook ถึงจะเห็น Ads เท่านั้น แบรนด์สามารถกระจายสารของตัวเองได้ในแทบจะทุกที่บนโลกออนไลน์
  3. โฆษณาออนไลน์ให้ข้อมูลที่วัดผลได้นอกจากจะช่วยให้เข้าถึงคนได้มากขึ้นแล้วยังสามารถติดตามและเก็บข้อมูลความเป็นไปเกี่ยวกับโฆษณาตัวนั้นได้ว่าเห็นผลดีหรือไม่ดี

ดังนั้น การทำ Digital Advertising หรือการโฆษณาออนไลน์ หมายถึงการทำการตลาดอย่างหนึ่งที่ช่วยเพิ่มทั้งยอดขาย และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ ดังนั้นการโฆษณาไม่ว่าจะรูปแบบใด เจ้าของธุรกิจและผู้ผลิตจัดทำ จะเป็นต้องใส่ใจรายละเอียด คิดวางแผนอย่างสร้างสรรค์ ด้วยถ้อยคำที่มีประสิทธิภาพ สามารถสื่อสารไปยังผู้รับสาร ได้อย่างตรงประเด็นและอยู่ภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดที่มีในแต่ละช่องทางสื่อ สามารถสร้างอารมณ์และเหตุผลในการตัดสินใจซื้อ จนนำไปสู่การตัดสินใจซื้อในที่สุด

ในการทำการตลาดยุคใหม่ที่หลาย ๆ องค์กรต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงก้าวเข้าสู่โลกแห่งดิจิทัลกันมากขึ้น ดังนั้นองค์กรควรให้ความสำคัญในเรื่องของการทำ การตลาดออนไลน์ บนโลกของโซเชียลมีเดียมากกว่าในอดีต ไม่ว่าจะเป็น การลงสื่อใน Facebook, Instagram หรือแม้แต่ YouTube และหลายๆ แพลตฟอร์ม จึงนับได้ว่าเป็นโอกาสที่ดีที่จะทำให้เจ้าของร้านค้าหรือกิจการได้เจอกลุ่มลูกค้านับล้านคนบนพื้นที่ออนไลน์ ทำให้เกิดความใกล้ชิดกับเหล่าลูกค้ามากยิ่งขึ้น การทำการตลาดออนไลน์ หรือ Social Media Marketing จึงมีบทบาทสำคัญในการทำกาตลาดในยุคดิจิทัลแบบนี้

Social Media Marketing (SMM) คืออะไร ?

Social Media Marketing คือกระบวนการการผลิตและสร้างคอนเทนต์ให้ตอบโจทย์กับช่องทาง Social Media ต่างๆ เพื่อสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าและโปรโมทชื่อเสียงของแบรนด์ หรืออีกชื่อที่คนมักจะ นิยมเรียกแบบย่อก็คือ SMM นั่นเอง หรือเรียบเรียงแบบสั้นๆ ก็คือการใช้ช่องทางเหล่านี้ทำความรู้จักและสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย

ข้อดีของ Social Media Marketing

1. เป็นช่องทางให้ศึกษาข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า

ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มไหนบนโซเชียลมีเดีย แบรนด์ของคุณก็สามารถใช้ช่องทางพวกนี้ในการศึกษา ทำความเข้าใจ และเก็บข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้า ด้วยการสังเกตพฤติกรรมจากการกระทำ เช่น การไลก์ การแชร์ และการแสดงความคิดเห็น และในแต่ละแพลตฟอร์มก็จะมีฟีเจอร์ที่คอยช่วยเหลือในการวิเคราะห์ข้อมูล และนอกจากนี้ยังมีรูปแบบข้อมูลเชิงลึกอีกมากมาย

2.ศึกษาคู่แข่งผ่านทาง Social Media Marketing

สามารถศึกษาวิธีการใช้ Social Media ของคู่แข่งในการขาย การทำคอนเทนต์ตลอดจนศึกษาพฤติกรรมของผู้ติดตาม เช่น ปัญหาที่ผู้ติดตามกำลังพูดถึง หรือสิ่งที่ผู้ติดตามหรือสิ่งกำลังพูดถึง ซึ่งคุณสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาปรับใช้กับกลยุทธ์ และผลิตคอนเทนต์เพื่อตอบโจทย์ รวมไปถึงคุณยังสามารถศึกษาวิธีการที่แบรนด์แต่ละแบรนด์ ตอบหรือปฏิบัติกับลูกค้าของพวกเขาบน Social Media ได้เช่นกัน

3. สร้าง Brand Awareness ให้แก่แบรนด์ของคุณ

สิ่งนี้จะช่วยให้คุณสร้างการรับรู้ หรือ Brand Awareness ให้กับแบรนด์ของคุณได้ การนำเสนอตัวตนของแบรนด์คุณผ่านคอนเทนต์ เพื่อให้เกิดการรับรู้ของลูกค้า และถ้ายิ่งมีคนสนใจมากเท่าไหร่ แบรนด์ของคุณก็สามารถเกิดการรู้จักในวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ และจำมีภาพจำของทั้งสินค้าและแบรนด์ของคุณ

4. ช่วยสร้าง Engagement เพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้า

อีกประโยชน์ของ Social Media คือการเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้คนสามารถสื่อสารกันได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ข้อความต่างๆ สามารถถูกส่งไปยังปลายทางภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว และแบรนด์สามารถนำประโยชน์ข้อนี้มาสร้าง Connection ระหว่างลูกค้าได้ง่ายๆ

5. ช่วยเพิ่ม Leads และ Conversion ให้กับแบรนด์

การทำ Social Media Marketing จะสามารถช่วยให้กลุ่มเป้าหมายของคุณกลายมาเป็นลูกค้าได้ สามารถดึงดูดผู้คนที่เข้ามาเยี่ยมชมโซเชียลมีเดียของคุณ และแบรนด์สามารถดึงดูดคนเหล่านี้ได้ด้วยคอนเทนต์ทั่วๆไป หรือคอนเทนต์โฆษณาก็ได้เช่นกัน

6. ส่งเสริม Branding หรือภาพลักษณ์ของแบรนด์

Branding หรือภาพลักษณ์ของแบรนด์ และ Social Media สามารถช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์นั้นให้แข็งแกร่งมาก ยิ่งขึ้นได้ด้วยเช่นกัน โดยแบรนด์สามารถถ่ายทอด ‘ความเป็นตัวเอง’ ออกมาผ่านรูปภาพ ข้อความ รูปแบบตัวอักษร ลักษณะการพิมพ์ หรือแม้แต่ตัวงาน Artwork ก็ตาม สิ่งเหล่านี้สามารถบ่งบอกความเป็นแบรนด์ได้ดี บนแพลตฟอร์ม Social Media ต่างๆ หรืออีกชื่อก็คือ Brand Identity หรือ Corporate Identity ที่เป็นตัวช่วยส่งเสริมความเป็นแบรนด์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ช่องทางการทำ Social Media Marketing มีอะไรบ้าง ?

1. Facebook

จุดเด่นของช่องทางนี้ คือ

  • มีผู้ใช้งานแทบจะทุกช่วงวัย ไม่ว่าจะวัยรุ่น วัยทำงานหรือผู้สูงอายุก็ตาม ทำให้ช่องทางนี้เป็น 1 ในช่องทางหลักของหลายๆ แบรนด์
  • เปิดโอกาสให้แบรนด์สามารถสร้างสรรคอนเทนต์ได้อย่างหลากหลาย เช่น การโพสต์รูปภาพและวิดิโอ, การใส่ Link Website, การทำ Live video รวมไปถึงการสร้าง Event ต่างๆ ที่ให้ลูกค้าเข้ามาร่วม engage กับแบรนด์ได้

2. Instagram

จุดเด่นของช่องทางนี้ คือ

  • เป็นช่องทางที่แบรนด์สามารถสื่อสารกับลูกค้าผ่าน Visual ได้อย่างดี เหมาะกับแบรนด์ที่เน้นขายสินค้าและบริการที่สามารถถ่ายทอดให้ลูกค้าเห็นได้
  • ยังช่วยสนับสนุนให้ผู้ใช้งานสามารถช่วยโปรโมตร้านค้าที่ชอบ ผ่านการใช้ฟีเจอร์ Support Small Business ช่วยส่งเสริม Awareness แบบ Peer-to-peer

Twitter

จุดเด่นของช่องทางนี้ คือ

  • เป็นแพลตฟอร์มที่แบรนด์สามารถสร้าง Conversation กับผู้ติดตามหรือไปสร้างกับผู้ใช้งานคนอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย อาจส่งผลให้ผู้คนมี Awareness ในตัวแบรนด์มากขึ้น
  • เป็น Social Media ที่มีการใช้งานที่แข็งแกร่ง แบรนด์สามารถเป็นคนเริ่มต้น Community หรือร่วมบทสนทนาภายใต้เหล่านั้นได้

LINE OA

จุดเด่นของช่องทางนี้ คือ

  • เป็น Social Media Platform ที่เปิดโอกาสให้แบรนด์เข้าใกล้ลูกค้ามากขึ้น เพราะแบรนด์ได้เข้ามาอยู่ในแพลตฟอร์มที่นับว่าเป็นช่องทางสื่อสารหลักของคนไทย
  • สามารถช่วยให้แบรนด์สร้าง engagement กับลูกค้าได้เรื่อยๆ จากการ Broadcast message และยังสามารถตั้งค่า Keyword เพื่อตอบกลับอัตโนมัติได้เช่นเดียวกัน

Tiktok

จุดเด่นของช่องทางนี้ คือ

  • Tiktok นั้นมีการเล่นกับ Hashtag ด้วยเช่นกัน แบรนด์เองก็สามารถผลิตคอนเทนต์และเล่นผ่าน Hashtag ที่กำลังนิยมได้ ช่วยให้วิดีโอของแบรนด์ไปโผล่บน Timeline ของผู้ใช้งานคนอื่นได้เยอะและหลากหลายขึ้น
  • สามารถให้แบรนด์ลงคอนเทนต์วิดีโอได้แบบไม่จำกัดความสร้างสรรค์ของตัวเอง โดยที่แบรนด์จะต้องสื่อสารภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้

LinkedIn

จุดเด่นของช่องทางนี้ คือ

  • มีภาพลักษณ์ที่ดู Professional ซึ่งเหมาะกับการสร้างคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เพื่อส่งเสริม Branding ไม่ว่าจะเป็นข้อความ, รูปภาพ, วิดิโอ, หรือแม้แต่ลิงก์ไปยังเว็บไซต์
  • เป็นช่องทางในการสร้าง Network ของแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นจากตัวแบรนด์เอง ผู้บริหาร หรือพนักงานก็ตาม

YouTube

จุดเด่นของช่องทางนี้ คือ

  • เป็นช่องทางที่นับว่าโด่งดังที่สุดในเรื่องของ Video Content เหมาะกับแบรนด์ที่ถนัดหรืออยากสร้างสรรคอนเทนต์แนววิดิโอ
  • ไม่จำกัดความยาวของวิดิโอ คุณอยากสร้างคอนเทนต์เป็นเวลา 5 นาที 10 นาทีหรือ ยาวเป็นชั่วโมงก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน

Blockdit

จุดเด่นของช่องทางนี้ คือ

  • เปิดโอกาสให้แบรนด์สามารถผลิตคอนเทนต์ได้อย่างอิสระตามความถนัด ไม่ว่าจะเป็นการผลิตบทความ ผลิตวิดิโอ หรือ Podcast ก็ตาม หรือจะผลิตคอนเทนต์ออกมา ทั้งสามแบบเลยก็ได้เช่นเดียวกัน
  • เป็นช่องทางที่แบรนด์สามารถเข้าไปเป็น Top of mind ของผู้ใช้งานผ่านการผลิต คอนเทนต์ที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมของตัวเองแบบให้ความรู้หรือประโยชน์สำหรับผู้ใช้งาน

Pantip

จุดเด่นของช่องทางนี้ คือ

  • คือแพลตฟอร์ม UGC หรือ User Generated Content ที่ผู้คนสามารถมาตั้งกระทู้ ถามหรือเล่าสิ่งที่สนใจได้ภายในห้องที่ชอบและแบรนด์สามารถใช้โอกาสนี้ในการเข้าไปช่วยเหลือผู้ใช้งาน ในการตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม
  • มีบริการแบบ Log-in ในฐานะองค์กรทีมีจุดประสงค์เพื่อให้แบรนด์ใช้สื่อสารกับ ผู้ใช้งาน หรือตัว Official Account ที่แบรนดืสามารถตั้งกระทู้ให้ความรู้กับผู้ใช้งานเองได้ โดยตรง เท่ากับว่าก็ช่วยให้ผู้คนรู้จักแบรนด์ในฐานะผู้เชี่ยวชาญในหมวดหมู่นั้นๆ

Clubhouse

จุดเด่นของช่องทางนี้ คือ

  • นอกจากจะให้แบรนด์เข้าไปเป็น Moderator ของห้องได้แล้วนั้น ยังสามารถไปร่วมแจมกับห้องอื่นๆ แบรนด์สามารถร่วมวงสนทนากับผู้ใช้งานเพื่อสร้าง ปฏิสัทพันธ์ดีๆ ได้อีกด้วย
  • เป็น voice-based platform ที่ผู้คนสามารถตั้งห้องภายใต้หัวข้อที่สนใจ และมาร่วมพูดคุยหรือ Talkshow ก็ได้ แบรนด์สามารถสร้างห้องขึ้นมาเพื่อพูดคุยประเด็น ที่เชี่ยวชาญเพื่อดึงดูดคนได้เช่นเดียวกัน

การตลาดออนไลน์ หรือ Social Media Marketing ในการทำการตลาด ก็จะก่อให้เกิดผลดีและเป็นประโยชน์ในหลายด้าน ไม่ว่าจะการสร้างความรู้จักกับลูกค้า และคู่แข่ง การสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักและจดจำ การสื่อสารติดต่อกับลูกค้าได้โดยตรง ทั้งยังมีหลากหลายแพลตฟอร์มมารองรับ เพื่อให้ใช้คอนเทนต์ได้อย่างหลากหลายประเภท หากสนใจจ้างนักการตลาดออนไลน์มืออาชีพมาช่วยคุณดูแลในเรื่อง Social Media Marketing ก็สามารถติดต่อ บริษัท คาร์ทบิซ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้ตลอด 24 ชม.

ในยุคปัจจุบันธุรกิจแข่งขันกันในโลกออนไลน์อย่างดุเดือด เพื่อแย่งชิงความสนใจจากผู้คน ทุกคนต่างก็ทำโฆษณาเพื่อสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย เพราะต้องการเปลี่ยนคนเหล่านี้ให้กลายมาเป็นลูกค้า เพื่อขยายการเติบโตของธุรกิจ โฆษณาที่พูดถึงสินค้าและพยายามขายของมีอยู่เต็มไปหมดในโลกออนไลน์ แต่การที่ลูกค้าจะดูโฆษณา รวมไปถึงอ่านบทความต่อหรือเลือกที่จะปิดทิ้ง ขึ้นอยู่กับคอนเทนต์หรือเนื้อหาที่นำเสนอออกไป เนื่องจาก Content Marketing ที่ดี สามารถสร้างความโดดเด่นให้กับแบรนด์ ซึ่งทำให้แตกต่างจากแบรนด์อื่นในตลาด และดึงความสนใจของผู้คน ทำให้อยากติดตามต่อและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมายได้

Content Marketing คืออะไร ?

Content Marketing คือ หนึ่งในกลยุทธ์ทางการตลาดที่เน้นการสร้างสรรค์ และนำเสนอเนื้อหา (Content) เพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย อย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นดึงดูดความสนใจ สร้างการจดจำแบรนด์กระตุ้นการตัดสินใจ เพื่อเพิ่มยอดขาย จนกลุ่มเป้าหมายเกิดความประทับใจ ผูกพัน และจดจำภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้จนกลายเป็นกำลังสำคัญในการซื้อในที่สุด

โดยคอนเทนต์ อาจจะมีรูปแบบที่เป็นบทความ, ภาพถ่าย, วิดีโอ, โพสต์, สเตตัส หรือแม้แต่การรีวิวก็นับว่าเป็นคอนเทนต์ที่เป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างแบรนด์ไปหาลูกค้าได้ทั้งสิ้น แต่หากต้องการทำคอนเทนต์ให้ประสบความสำเร็จนั้นก็ต้องอาศัยสิ่งที่เรียกว่า Content Marketing เข้ามาเป็นกลยุทธ์ในการนำเสนอเพื่อให้ธุรกิจสามารถสร้างการเติบโตได้ในโลกออนไลน์

ทำไม Content Marketing ถึงสำคัญกับการทำ Digital Marketing

การทำ content Marketing ที่ดีช่วยให้การทำ Digital Marketing กลยุทธ์อื่นๆ ง่ายขึ้น เช่น สามารถทำให้ SEO ของเว็บไซต์ได้ง่าย เมื่อ Google เข้ามาเก็บข้อมูลก็จะสะดวก และเว็บไซต์ของเราก็จะได้คะแนนสูงอีกทั้งยังสามารถเล่าเรื่องราว ให้ความรู้ สร้างความประทับใจ และสร้าง Brand Awareness ให้กับกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายและเป็นธรรมชาติ ดังนั้น Content Marketing จึงเปรียบเสมือน Pull Strategy ในทางการตลาดเป็นการดึงลูกค้าเข้าสู่แบรนด์ได้ตรงจุด และสร้างคุณค่าตระหนักรู้ได้ง่ายกว่ากลยุทธ์อื่นๆ

ประโยชน์ของ Content Marketing ต่อการสร้างแบรนด์และการทำการตลาด

1. สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก (Awareness)

คอนเทนต์ คือ สารและเป็นเครื่องมือเชื่อมโยงระหว่างแบรนด์/องค์กรกับกลุ่มเป้าหมาย การทำคอนเทนต์ออกมา ไม่ว่าจะเป็นคอนเทนต์ให้ความรู้บนเว็บไซต์ บนโซเชียลมีเดีย หรือการทำคอนเทนต์ไวรัล ก็เป็นการสร้างการรับรู้แบรนด์ (Awareness) ทำให้คนรู้จักแบรนด์มากขึ้น เข้าใจว่าแบรนด์เป็นแบรนด์ที่เหมาะกับคนแบบไหน รวมทั้ง สร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ด้วย

  • ทำแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก รับรู้ภาพลักษณ์ของแบรนด์
  • ทำสินค้า/บริการให้เป็นที่รู้จัก คนเข้าใจถึงประโยชน์
  • คนคุ้นเคยกับแบรนด์มากขึ้น ช่วยให้การตัดสินใจหรือเลือกแบรนด์เป็นทางเลือกได้ง่ายขึ้น

2. ช่วยส่งเสริมการขาย

นอกจากการใช้คอนเทนต์ประชาสัมพันธ์โปรโมชั่น บอกส่วนลด แจ้งแคมเปญแล้ว คอนเทนต์ยังมีส่วนสำคัญในช่วง “Pre Sales” หรือก่อนเกิดการขาย เช่น แบรนด์ของเราให้ความรู้เกี่ยวกับการออมเงิน เมื่อกลุ่มเป้าหมายเริ่มคุ้นเคยและติดตาม เมื่อเจอสินค้าหรือบริการของแบรนด์ ก็ช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น เพราะไว้วางใจ

นอกจากนี้ อีกเทคนิคที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันก็คือ การทำคอนเทนต์ รีวิวและการทำคอนเทนต์ร่วมกับ Influencer ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ Content Marketing ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย (หรือกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ) ได้ ทั้งผลลัพธ์ก็ดูดีอีกด้วย เพราะคนเชื่อมั่นในรีวิวหรือ Influencer ที่เขาคุ้นเคยและติดตามอยู่

3. ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือและน่าติดตาม

การทำคอนเทนต์อย่างสม่ำเสมอและมีทิศทางที่ชัดเจน จะช่วยให้

  • แบรนด์กลายเป็น “Top of Mind” หรือตัวเลือกแรกๆ ที่ผู้คนนึกถึง
  • คนอยากติดตาม Follow แบรนด์
  • คนเชื่อถือในแบรนด์ คนตัดสินใจง่ายขึ้น เพราะไว้วางใจ
  • แบรนด์ได้รับการกล่าวถึง มีการ Mention หรืออ้างอิงความรู้

ยิ่งแบรนด์พูดถึงเรื่องใดซ้ำๆ เป็นประจำ และสามารถทำคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์ ตอบข้อสงสัยของผู้คนได้มาก แบรนด์ก็จะยิ่งได้รับความเชื่อถือและได้ประโยชน์ตามลิสต์ข้างต้นมากขึ้นเท่านั้น

การทำ Content Marketing คือการที่แบรนด์สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายโดยใช้คอนเทนต์เป็นสื่อกลาง ไม่ว่าในวัตถุประสงค์ในการเพิ่มยอดขาย เพิ่ม Brand Awareness หรือให้ความรู้ สร้างการจดจำ แต่อย่างไรก็ตามสุดท้ายแล้วการทำคอนเทนต์ของคุณ ไม่ว่าจะนำเสนอออกมาในรูปแบบใด ก็ต้องช่วยให้เกิดการทำแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักและแข็งแกร่งมากขึ้น เพื่อเป็นส่วนช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตในยุคที่มีการแข่งขันสูงได้ตลอดเวลานั่นเอง

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในปัจจุบัน โลกออนไลน์มีผลต่อการใช้ชีวิตของคนเราอย่างมาก การทำธุรกิจก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภค จึงมีร้านค้าที่ก้าวเข้าสู่โลก E-Commerce (อีคอมเมิร์ซ) กันมากขึ้น การศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับการทำธุรกิจออนไลน์และกลยุทธ์การตลาดในการโปรโมทสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตจึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่จะทำให้สามารถขายสินค้าและเอาชนะคู่แข่งที่มีจำนวนมากได้ ดังนั้นการทำธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือ E-Commerce (อีคอมเมิร์ซ) จึงเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการหันมาสนใจกันมาก แล้วการทำ E-Commerce คืออะไร ? แตกต่างกับธุรกิจทั่วไปอย่างไร ?

E-Commerce คืออะไร ?

E-Commerce (อีคอมเมิร์ซ) คือ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ การทำธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณา โดยมีสื่ออิเล็กทรอนิกส์คือตัวกลาง ทั้งทางโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ และอินเทอร์เน็ต

ประเภทของ E-commerce

1. ร้านค้าออนไลน์ (Online Stores)

สิ่งแรกเลยก็คือเว็บไซต์ขายของออนไลน์ทั่วไป ผู้ขายหรือร้านค้าธุรกิจสามารถสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาเพื่อขายสินค้าของตัวเองได้ โดยที่ข้อความซับซ้อนของเว็บไซต์ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้า และพฤติกรรมของผู้ใช้งาน

2. เว็บไซต์สื่อกลาง (Marketplace)

เป็นธุรกิจขายของออนไลน์ที่ทำตัวเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย คนไทยก็อาจจะรู้จักเว็บไซต์ต่างๆเช่น Shopee Lazada

3. ขายของออนไลน์ผ่านโลกโซเชียล (Social Commerce)

สำหรับบางธุรกิจ การขายของออนไลน์ก็ไม่ได้จำกัดว่าตัวเองต้องมีเว็บไซต์ หรือต้องไปฝากพ่อค้าคนกลางคนอื่นขาย พ่อค้าแม่ค้าบางคนสามารถเปิดร้านบน Facebook หรือ Instagram เพื่อทำการโฆษณา พูดคุยกับลูกค้า และปิดการขายได้ภายในทีเดียว ข้อดีก็คือโลกโซเชียลมีฐานลูกค้าเยอะอยู่แล้ว แต่ข้อเสียก็คือร้านค้าส่วนมากก็ต้องอยู่ในกฎเกณฑ์ของเว็บไซต์นั้นๆ

ความแตกต่างระหว่าง E-Commerce และธุรกิจทั่วไป

1. มีต้นทุนการขายที่ต่ำ เพราะไม่ต้องพึ่งหน้าร้าน

การทำเว็บไซต์มีค่าใช้จ่ายที่น้อยมากเมื่อเทียบกับธุรกิจอื่นๆ อีกทั้งบางเว็บไซต์มีระบบร้านค้าออนไลน์ให้ใช้บริการฟรี ทำให้เราสามารถจัดการข้อมูลต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของการจ้างพนักงาน หรือการสต็อกสินค้า และที่สำคัญ หากเว็บไซต์เราดูดี ก็ยิ่งเป็นส่วนที่ทำให้เพิ่มความน่าเชื่อถือต่อเว็บไซต์และเพิ่มความต้องการในการซื้อสินค้าอีกด้วย

2. เปิดค้าขายได้ 24 ชั่วโมง ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา

การซื้อขายสามารถทำได้ตลอด 24 ชั่วโมง เนื่องจากมีระบบอัตโนมัติคอยช่วยเหลือ ขณะที่ธุรกิจทั่วไปต้องมีหน้าร้านเป็นหลักเป็นแหล่ง ทำให้ขายลูกค้าได้ไม่กี่กลุ่ม และการเปิดขายตลอด 24 ชั่วโมงต้องใช้ต้นทุนแรงงานมาก

3. เพิ่มโอกาสในการขาย เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายขนาดใหญ่ทั่วโลก

ช่องทางนี้สามารถเข้าถึงผู้คนได้ทั่วโลกด้วยระบบอินเทอร์เน็ต เพราะฉะนั้นเราก็สามารถขายของได้ทั่วโลกโดยไม่มีข้อจำกัด แต่ก็ขึ้นอยู่กับความรู้เรื่องพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายของผู้ประกอบการด้วย

4. มีเครื่องมือที่เอื้อต่อการสื่อสาร โต้ตอบกับลูกค้า และง่ายต่อการประชาสัมพันธ์

สามารถทำงานได้แบบ Real Time ขณะที่ธุรกิจทั่วไปอาจมีประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสารที่ช้ากว่า เช่น สินค้าหมดแต่ไม่สามารถแจ้งลูกค้าได้ เนื่องจากข้อมูลสต็อกสินค้าไม่อัพเดต เมื่อลูกค้ามาที่ร้านก็ทำให้เสียเวลาเดินทาง และอาจเสียลูกค้าไปด้วยเพราะทำให้เกิดความไม่พอใจ ขณะที่ธุรกิจ E-Commerce ลูกค้าสามารถเช็คได้ทันทีว่ามีสินค้าหรือไม่ ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากกว่า

5. ทำการตลาดได้อย่างแม่นยำ และสามารถวัดผลได้

สามารถใช้เว็บไซต์ขายสินค้าและโชเชียลมีเดียเก็บข้อมูลลูกค้ารวมถึงผู้เยี่ยมชม และนำไปใช้ในการทำการตลาดออนไลน์ได้ตรงเป้าหมาย อีกทั้งยังมีระบบที่สามารถตรวจสอบประสิทธิภาพได้ซึ่งต่างจากการลงโฆษณาในสื่อออฟไลน์ เช่น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าทั้ง E-Commerce และธุรกิจทั่วไปก็มีข้อโดดเด่นแตกต่างกัน แต่ E-Commerce นั้นเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นธุรกิจมากกว่า เพราะถึงต้องใช้ต้นทุนทางเทคโนโลยี แต่ก็มีแพลตฟอร์มออนไลน์หลายแห่งที่สามารถใช้บริการโดยเสียเงินหรือเสียแต่น้อยมาก ทำให้สามารถเริ่มต้นโปรโมตร้านให้คนทั่วไปรู้จักได้เร็วกว่าการทำธุรกิจทั่วไป อย่างไรก็ตามถ้าทำธุรกิจออนไลน์ควบคู่กับการทำธุรกิจทั่วไป คือ มีหน้าร้าน ก็จะทำให้ลูกค้ามีความเชื่อถือในธุรกิจมากกว่า เพราะสามารถเห็นสินค้าจริงได้นั่นเอง

การเขียนบทความ SEO เป็นหนึ่งในเครื่องมือในการทำการตลาดออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด จนตอนนี้แทบจะทุกธุรกิจได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการทำ SEO กันมากขึ้น แต่จุดประสงค์หลักในการเขียนบทความ SEO นั้น คือการทำให้บทความและเว็บไซต์ของคุณติดอยู่ในหน้าแรกของ Google หรือเครื่องมือค้นหาอื่น ๆ ที่เรียกรวม ๆ กันว่า Search Engine ดังนั้นรูปแบบและโครงสร้างต่าง ๆ ในการเขียนบทความจึงมีความเฉพาะตัว และควรทำอย่างถูกต้อง  บทความนี้เราจะมาแนะนำทริคการเขียนบทความ SEO ที่จะช่วยให้บทความของคุณมีประสิทธิภาพและติดหน้าแรกในที่สุด

1. ศึกษาหาข้อมูล

คือการศึกษาหาข้อมูลว่าอยากจะเขียนเกี่ยวกับอะไร โดยจะต้องไตร่ตรองให้ถี่ถ้วนด้วยว่าสิ่งที่ต้องการจะเขียนนี้ มีความสำคัญหรือเกี่ยวข้องกับธุรกิจ สินค้าและบริการของเราอย่างไร เช่นถ้าหากคุณมีธุรกิจเกี่ยวกับต้นไม้  คุณก็ควรจะเลือกเขียนหัวข้อที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งจะไม่ใช่การเขียนขายของกันแบบตรง ๆ แต่อาจจะเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ ที่สามารถเชื่อมโยงกับสินค้าได้ในทางอ้อม อย่างเช่น “วิธีดูแลต้นไม้ฟอกอากาศ” เป็นต้น โดยการเลือกหัวข้อคุณอาจจะหาสิ่งที่กำลังเป็นเรื่องที่น่าสนใจอยู่ในขณะนั้นแล้วนำมาต่อยอด

2. วิเคราะห์ Keyword

การเขียนหัวข้อเรื่องให้น่าสนใจ คือกุญแจสำคัญที่จะทำให้ผู้อ่านคลิกเข้ามาที่หน้าเว็บ ซึ่งบางครั้งการเขียนหัวข้อปัง ๆ และดูโดดเด่น สามารถเพิ่มโอกาสให้คนคลิกเข้ามาอ่านบทความได้ก็จริง แต่สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ หัวข้อของบทความนั้น ๆ จะต้องมี Keyword ที่ตรงกับ Search Volume สำหรับ SEO ด้วย

3. ตั้งหัวข้อสำหรับ เขียนบทความ

หัวข้อของบทความเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะจะอยู่ในตำแหน่ง H1 หรือ Heading 1 ซึ่ง Google จะให้ความสำคัญมาก ดังนั้นเราควรให้น่าสนใจเพื่อให้ผู้ใช้คลิกเข้ามาอ่าน และต้องมี Keyword หลักของบทความ

แน่นอนว่าเราไม่สามารถยัด Keyword ทุกคำไปได้ ดังนั้น เลือกเฉพาะคำหลักเท่านั้น ยกตัวอย่างในกรณีของร้านขายต้นไม้ ก็อาจใส่หัวข้อเป็น “5 เทคนิคการดูแลต้นไม้ฟอกอากาศ ที่คนรักต้นไม้ตัวจริงต้องรู้” ซึ่งจะเห็นได้ว่า ในหัวข้อนี้จะโฟกัสคำว่า “การดูแลต้นไม้” เป็นหลัก และยังมีการผสมผสานอีก 2 คำจาก Keyword Ideas ด้านบน “เทคนิคการดูแลต้นไม้” และ “การดูแลต้นไม้ฝอกอากาศ” ด้วยเช่นกัน โดยไม่กระทบกับ Keyword หลัก และไม่ทำให้หัวข้ออ่านไม่รู้เรื่อง

4. วางโครงสร้างของบทความ

การวางโครงสร้างบทความจะช่วยให้เราจับประเด็นที่จะเขียน และเรียงลำดับความสำคัญของเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น บทความนี้พูดถึงเรื่องอะไรบ้าง เอาเนื้อหาไหนขึ้นก่อน โดยตั้งชื่อของหัวข้อหลัก และหัวข้อรองให้ชัดเจน การวางโครงสร้างบทความให้ชัดเจนยังช่วยให้ผู้ที่เข้ามาอ่านบทความ สามารถอ่านได้ง่ายยิ่งขึ้น

สิ่งที่ต้องมีในโครงสร้างของบทความ SEO

  • Meta Title  ชื่อหัวข้อของบทความที่จะไปปรากฏอยู่บนหน้าการค้นหา โดยควรมีความกระชับ ได้ใจความ โดยความยาวที่นิยมใช้กันจะอยู่ที่ 65 ตัวอักษร และที่สำคัญคือคุณต้องอย่าลืมใส่คีย์เวิร์ดสัก 1 คีย์เวิร์ดลงไปด้วย
  • Meta Description รองจาก Meta Title โดยในส่วนนี้จะเป็นการสรุปเนื้อหาของบทความให้สั้น กระชับและมีคีย์เวิร์ดสำคัญอยู่ในนั้นด้วย เราแนะนำว่าให้คุณใช้ไม่เกิน 160 ตัวอักษร โดยความสำคัญของการเขียน Meta Description อยู่ที่เวลาที่ผู้ใช้งานเสิร์ชหาข้อมูล มักจะอ่านเนื้อหาในส่วนนี้ก่อนเสมอ
  • Headline (H1) หัวข้อที่จะปรากฏอยู่บนหัวบทความในหน้าเว็บไซต์ของคุณ ซึ่งโดยรวมแล้วจะมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกับ Meta Title แต่เราขอแนะนำว่า ให้เขียนเนื้อหาที่มีความแตกต่างกัน แต่ยังคงใจความสำคัญที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันก็จะดีที่สุด
  • Sub-Headings (H2-H6) สำหรับการเขียน Sub-Headings หรือที่เราเรียกกันว่า H2 นั้นอาจจะมีได้ถึง H6 หรือมากกว่านั้นก็ได้ ซึ่งจะเป็นหัวข้อรองในบทความ โดยจำแนกได้จากการลำดับภายใต้หัวข้อนั้น ๆ
  • Paragraphs โดยในการเขียนเนื้อหานั้น คุณจะต้องแยกแต่ละย่อหน้าให้ชัดเจน โดยในหนึ่งย่อหน้าไม่ควรมีความยาวเกินไป หรือมีหลายใจความสำคัญ ที่สำคัญคุณจะต้องกระจายใส่คีย์เวิร์ดลงไปในส่วนของเนื้อหาด้วย
  • Alt Text จำเป็นต้องใส่ Alt Text หรือข้อความที่ซ่อนอยู่ในรูปนั้น ๆ ด้วย เพราะเวลาที่มีผู้ใช้งานเสิร์ชหาในหน้ารูปภาพ รูปของคุณก็จะได้ไปแสดงผลด้วยเช่นกัน โดย Alt Text อาจจะเป็นคีย์เวิร์ดหรือข้อความสั้น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในภาพและบทความ
  • Internal Link คือการใส่ลิงก์เชื่อมไปหาบทความหรือหน้าเว็บไซต์ของคุณ แต่ในการใส่ Internal Link คุณไม่จำเป็นต้องแปะลิงก์ลงไปโต้ง ๆ แต่สามารถซ่อนลิงก์ไว้ในข้อความได้

6. การแชร์คอนเทนต์ไปยังช่องทาง Social Media ต่างๆ

นอกจากการปรับโครงสร้างเนื้อหาบทความให้ตอบโจทย์ SEO แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ Social Signal ที่ Google จะนำมาดูด้วย ว่าบทความนั้นๆ ถูกแชร์ หรือมี Engagement บน Social Media อย่างไร

7. เขียนบทความด้วยมุมมองที่ไม่ซ้ำใคร

การเขียนบทความที่อยู่ในเทรนด์และมีสาระ แน่นอนว่าใคร  ๆ ก็ชอบและอยากเปิดอ่าน แต่การเขียนหัวข้อและเนื้อหาที่แตกต่างจากบทความที่เคยมี หรือมุมมองที่คนอื่นไม่เขียน คือจุดขายของบทความนั้น ๆ ที่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกสนใจ

8. สร้างปฏิสัมพันธ์ให้แก่ผู้อ่านด้วยการเขียน Blog อัปเดต

การเขียนบทความที่มอบคุณค่าให้แก่ผู้อ่าน หรือเป็นบทความที่เป็นเทรนด์มาแรงของการทำธุรกิจออนไลน์ โดยมีการอัปเดตบทความเป็นประจำทุกสัปดาห์ สามารถพัฒนาให้ความเป็นผู้เชี่ยวชาญของผู้เขียนนั้นดีขึ้น

9. การทำ Off-page Optimization ควบคู่ไปด้วย

การทำ Backlink ก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นในบาง Keyword ที่มีการแข่งขันสูง ในธุรกิจที่คู่แข่งทำLink Building หรือได้รับลิงก์จากเว็บไซต์อื่นจำนวนมาก ซึ่งการทำ Link Building จำเป็นต้องศึกษาให้ดีเสียก่อน เพราะหากทำลิงก์ที่ไม่มีคุณภาพ Google จะมองว่าเว็บไซต์นั้นไม่มีคุณภาพ และการทำ บทความ SEO ที่ผ่านมาอาจกลายเป็นศูนย์ได้ทันที

10.วัดผลและปรับปรุงแก้ไข

จำเป็นจะต้องหาจุดอ่อนของบทความและนำมาแก้ไขปรับปรุงอีกครั้ง เพื่อให้มีโอกาสติดหน้าแรกมากขึ้น หรือถ้าบทความของเราติดหน้าแรกเป็นที่เรียบร้อย ก็ยังจำเป็นต้องคอยเช็กอยู่เป็นระยะ เพราะโลกใบนี้มีบทความใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการคอยตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอยังจะช่วยให้หาทางปรับปรุงเนื้อหา ให้อยู่ในอันดับที่ดีกว่าเดิมได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย

ทั้งนี้ลองอ่านบทความที่ทาง  “คาร์ทบิช” (Cart-Biz) เคยเขียนก่อนหน้านี้เกี่ยวกับ การทำ SEO หรือการเขียนบทความ SEO หากต้องการให้เอเจนซี่โฆษณาของเราช่วยในเรื่องของบริการหรือการขอคำปรึกษาเกี่ยวกับ SEO อย่างเต็มรูปแบบ ถูกต้องตามนโยบายของ Google ก็ติดต่อเราได้เลย ทางเรามีบริการรับทำ SEO ด้วยเช่นกัน

ในยุคดิจิทัลอย่างปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตแทบจะเป็นทุกอย่างในชีวิตเรา ไม่ว่าจะกระทำสิ่งใดก็มักมีสองอย่างนี้เข้ามาเกี่ยวข้องเสมอไม่เว้นแม้แต่การทำการตลาดก็ตาม ดังนั้นการทำธุรกิจก็ต้องปรับตัวตามให้ทันยุคสมัย เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงธุรกิจของเราได้ง่ายขึ้น สะดวก สบาย และตรงตามความต้องการของลูกค้ามากที่สุด ป้องการลดลงของยอดขาย ดังนั้นการเลือกบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องของ Advertising Agency ให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะหากเลือกไม่ถูก หรือไม่เหมาะสมกับความตั้งใจของคุณก็อาจจะทำให้เสียเงินและเสียเวลาไปเปล่าๆ

Digital Marketing Agency คืออะไร ?

Digital Marketing Agency คือ องค์กรที่ให้บริการด้าน Digital Marketing กล่าวคือ การทำโฆษณาด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เจ้าของธุรกิจนั้น ๆ ต้องการเพื่อให้ได้ยอดขาย รวมไปถึงการให้คำแนะนำด้านการตลาดแก่คนทำธุรกิจเพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างราบรื่นและตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย รวมถึงสร้างยอดขายของธุรกิจดังกล่าวให้สูงยิ่งขึ้นด้วย

Digital Advertising Agency คืออะไร ?

Digital Advertising  Agency คือองค์กรธุรกิจที่มีหน้าที่ในการวางแผน กำหนดกลยุทธ์ สร้างสรรค์ ผลิตงานโฆษณาและทำการซื้อโฆษณาบนพื้นที่โลกออนไลน์เพื่อโปรโมทสินค้าไปยังกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก การซื้อแอดสามารถทำได้หลายช่องทางไม่ว่าจะเป็น Facebook, Google Twitter, Instagram, Tik Tok และช่องทางอื่นๆ ซึ่งร้านค้าออนไลน์สามารถเลือกช่องทางได้ตามความเหมาะสมกับสินค้าของตนเอง ดังนั้น ควรศึกษาและอัปเดตข้อมูลการซื้อแอดใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการโปรโมทสินค้า ทำให้ธุรกิจของตนเองเติบโต ช่วยเพิ่มยอดขาย และเพิ่มกำไรแบบเน้นๆ

ลักษณะ Digital Advertising  Agency ที่ดี

การเลือกบริษัทเอเจนซี่ทางการตลาด เพื่อช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายขององค์กรและธุรกิจ คือการตัดสินใจที่สำคัญสำหรับเจ้าของธุรกิจทุกคน ดังนั้น การเลือกบริษัทที่ไม่ถูกต้องก็อาจทำให้เกิดความสูญเสียมหาศาล ในเบื้องต้นควรศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะเด่นของเอเจนซีการตลาดที่ยอดเยี่ยมเพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกได้ดีขึ้น

1. เชี่ยวชาญด้านดิจิทัล (Digital expertise)

บริษัทการตลาดดิจิทัลที่ดี คือบริษัทที่เคยทำงานด้านช่องทางการตลาดดิจิทัลที่ครอบคลุม ควรเลือกเอเจนซี่ที่มีประวัติการส่งเสริมการขายในตลาดดิจิทัลที่พิสูจน์ตัวเองได้สำเร็จแล้วในหลายช่องทาง บริษัทเอเจนซี่ควรเสนอบริการพื้นฐานต่างๆ ที่สำคัญ เช่น แคมเปญการตลาด การพัฒนาเว็บไซต์ บริการ SEO โฆษณา  การตลาดเนื้อหา และการตลาดอัตโนมัติ เป็นต้น

2. ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data-driven)

การวิเคราะห์และการวัดข้อมูลมีความสำคัญต่อแคมเปญการตลาดที่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากจะช่วยให้กำหนดมูลค่าของแคมเปญและตัดสินใจได้ดีขึ้น ดังนั้น ให้มองหาบริษัทการตลาดที่จริงจังกับการวัดผลในขณะที่ติดตามความสำเร็จของแคมเปญ

3. มีความรู้เกี่ยวกับลูกค้าของแบรนด์ (Knowledge of your customer)

เอเจนซี่ต้องมีความเชี่ยวชาญด้านเนื้อหาหรือคอนเทนต์ นอกเหนือจากการให้บริการเขียนเนื้อหาระดับพรีเมียมแล้ว เอนเจนซี่ควรบอกเล่าเรื่องราวของธุรกิจของคุณในลักษณะที่ดึงดูดผู้คนและช่วยให้คุณได้เปรียบในการแข็งขัน และควรทราบเกี่ยวกับความผันแปรของเนื้อหาตามช่องทางการตลาดต่างๆ และต้องผลิตเฉพาะเนื้อหาที่เกี่ยวข้องเท่านั้น

4. มุ่งเน้นที่การเติบโตและรายได้ของธุรกิจ (Focus on business growth and revenue)

เป็นเรื่องธรรมดาที่เจ้าของธุรกิจย่อมหวังผลลัพธ์ที่ดีที่สุดหลังจากลงทุนทำธุรกิจไปแล้ว โดยปกติ การตลาดออนไลน์จะต้องมีการวางเป้าหมายและกลยุทธ์เพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ และถ้าหากจ้าง Digital Agency ทางเอเจนซีจะมีการใช้ KPI หรือเครื่องมือวัดผล โดยจะมีการทำ Report เพื่อนำเสนอต่อเจ้าของธุรกิจ ว่าขณะนี้ธุรกิจมีความคืบหน้าอย่างไรบ้าง ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ ทำให้เจ้าของธุรกิจสามารถนำไปต่อยอดและพัฒนาการตลาดตามเป้าหมายของตัวเองได้อีกด้วย

5. พัฒนาความรู้ และเทรนด์การตลาดอย่างต่อเนื่อง ( Belief in ongoing learning and education)

Digital Marketing Agency ต้องอัปเดตเทรนด์และเรียนรู้เท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัลอยู่สม่ำเสมอ เพราะสื่อได้ว่าเอเจนซี่เจ้านั้นไม่เคยหยุดเรียนรู้และรู้จักการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่ย่ำอยู่แต่ในสิ่งที่ตัวเองถนัดที่สุดเพียงอย่างเดียว

หากคุณรู้สึกว่าการทำการตลาดของคุณเริ่มทำงานเกินกำลังหรือคิดว่าตัวคุณยังไม่มีความรู้ ความเข้าใจด้าน Digital Marketing เพียงพอ ต้องการขอคำปรึกษาและกำลังมองหาเอเจนซี่ที่มีคุณสมบัติเพรียบพร้อมในการทำโฆษณาให้กับแบรนด์คุณ ก็สามารถใช้ 5 วิธีคัดเลือกเอเจนซี่ที่กล่าวมาข้างต้นในการมองหาเอเจนซี่ที่ใช่สำหรับคุณ เหมือนอย่างที่ คาร์ทบิซ(Cart-Biz) บริษัท Digital Marketing Agency ที่มีผลงานชัดเจน ตรวจสอบได้ ดูแลธุรกิจให้กับแบรนด์ดัง ๆ มาแล้วมากมาย

ปัจจุบัน Social Media Marketing  มีบทบาทสำคัญต่อกลยุทธ์การตลาดของหลายบริษัท อัตราการใช้ Social Media ในการทำการตลาดเติบโตสูงขึ้นมาก  โดยในปัจจุบันก็มีแพลตฟอร์ม Social Media ให้เลือกใช้งานเป็นจำนวนมากไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, LINE, Twitter, YouTube หรือ TikTok ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นแพลตฟอร์มที่คุณสามารถนำไปใช้งานในการทำ Social media marketing ได้

Social Media Marketing (SMM) คือ

Social Media Marketing คือกระบวนการผลิตและสร้างคอนเทนต์ให้ตอบโจทย์กับช่องทาง Social Media ต่างๆ เพื่อสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าและโปรโมทชื่อเสียงของแบรนด์ นิยมเรียกแบบย่อก็คือ SMM นั่นเอง หรือเรียบเรียงแบบสั้นๆ ก็คือการใช้ช่องทางเหล่านี้ทำความรู้จักและสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย และหัวใจหลักของการทำ SMM ก็คือการใช้พื้นที่เหล่านี้เพื่อส่ง ข้อความที่ใช่ ไปหากลุ่มเป้าหมาย ดังนั้นแบรนด์หรือนักการตลาดในยุคนนี้ต้องรู้จัก Social Media Marketing ด้วย

Social Media คือ

Social Media คือ แพลตฟอร์มสำหรับให้ผู้คนได้แบ่งปันประสบการณ์ ถ่ายทอดเรื่องราวและกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของแต่ละคนร่วมกันบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งทำให้เกิดเป็นสังคมใหม่บนโลกออนไลน์ เช่น Facebook, Instagram, LINE, Twitter, TikTok ฯลฯ โดยเมื่อ Social Media มีผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น ก็จะทำให้พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นทำเลทองของการทำธุรกิจ ส่งผลให้ในปัจจุบันมีธุรกิจมากมาย ทั้งเก่าและใหม่ที่ดำเนินธุรกิจผ่านช่องทาง Social Media จนกลายเป็นเรื่องปกติของการทำธุรกิจในทุกวันนี้

ขั้นตอนการทำ Social Media Marketing ให้ประสบความสำเร็จ

สิ่งที่สำคัญหรือหัวใจในการทำ Social Media Marketing ไม่ใช่แค่การสมัคร Business Ac count แต่เป็นการวาง ‘กลยุทธ์’ ที่จะพาแบรนด์ประสบความสำเร็จบนช่องทางเหล่านี้ ซึ่งกลยุทธ์นั้น ประกอบไปด้วยขั้นตอนต่อไปนี้

1. Know your business รู้จักธุรกิจของตัวเอง

การรู้จักธุรกิจของตัวเองจำเป็นต้องทราบก่อนว่าตอนนี้ธุรกิจของคุณอยู่ในตำแหน่งของการทำการตลาด มีคู่แข่งเยอะมากน้อยแค่ไหน โอกาส อุปสรรค จุดแข็ง จุดอ่อนของตัวเอง คืออะไร ช่องทางในการสร้างรายได้ของคุณจะมาจากช่องทางไหนบ้าง และเมื่อคุณรู้ว่าธุรกิจตัวเองเป็นยังไงแล้ว ก็จะสามารถเลือกวิธีการทางการตลาดแบบไหนมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมและลงตัว

2. Know your audiences รู้จักลูกค้าของแบรนด์

การรู้จักลูกค้าของแบรนด์ หลังจากที่คุณรู้จักธุรกิจของตัวเองแล้ว สิ่งต่อมาที่คุณต้องรู้คือการรู้จักกับลูกค้า ว่ากลุ่มลูกค้า หรือแม้แต่กลุ่มเป้าหมายของธุรกิจคุณคือใคร เป็นคนแบบไหน อายุประมาณเท่าไร เพศอะไร รายได้เท่าไร อาศัยอยู่ที่ไหน มีความชอบความสนใจเกี่ยวกับเรื่องอะไร หรือการทำ customer persona ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้คุณสามารถกำหนดกลยุทธ์การทำ Social Media Marketing ได้ถูกต้องตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด

3. Set Goals & Objective ตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน

แบรนด์จะต้องกำหนดก็คือ ‘เป้าหมาย’ และ ‘วัตถุประสงค์’ ของการทำการตลาดผ่านสื่อ Social Media เหล่านั้น ขั้นตอนนี้ถือว่าค่อนข้างสำคัญเพราะยิ่งคุณสามารถมองภาพในอนาคชัด เท่าไหร่ คุณยิ่งกำหนดแผนและทิศทางของธุรกิจได้ง่ายขึ้นเท่านั้น ซึ่งเป้าหมายนที่ชัดเจนนั้น ควรเป็นเป้าหมายเป็น SMART goals หรือ 5 ปัจจัยหล่านี้

  1. Specific หรือเป้าหมายที่มีความเฉพาะเจาะจง
  2. Measurable หรือเป้าหมายที่สามารถวัดได้อย่างเป็นรูปธรรม
  3. Attainable หรือเป้าหมายที่จับต้องและเป็นจริงได้
  4. Relevant หรือเป้าหมายที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับแบรนด์
  5. Time-bound หรือเป้าหมายที่มีการกำหนดระยะเวลาชัดเจน

4. Plan & Curate Contents วางแผนคอนเทนต์ที่จะทำ

การวางแผนคอนเทนต์ เพราะการทำ Social Media Marketing นั้นจะต้องใช้การสร้าง content ที่แปลกใหม่ มีประโยชน์ มีคุณค่า ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ช่วยแก้ปัญหาให้พวกเขาได้เป็นอย่างดี ซึ่งการสร้างคอนเทนต์ที่แตกต่างและมีประโยชน์ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้การทำ Social Media Marketing ของคุณประสบความสำเร็จ

5. Use Tools ใช้เครื่องมือเสริมเพื่อช่วยเหลือแบรนด์

ขั้นตอนนี้จะเหมือนเป็น Solution ช่วยเหลือแบรนด์ ในการคิดไอเดียคอนเทนต์ใหม่ๆ สามารถให้แบรนด์สามารถสร้างคอนเทนต์และเก็บไว้พร้อมใช้งาน ได้ตลอดเวลา

6. Analyze and Optimize วิเคราะห์ผลลัพธ์

สุดท้ายคือต้องวัดผล วิเคราะห์ผลลัพธ์ในการทำงานอย่างสม่ำเสมอ เพราะจะทำให้คุณได้รู้ว่า กลยุทธ์ต่าง ๆ ที่คุณทำไปนั้น สามารถเปลี่ยนเป็นผลลัพธ์ สร้างการเติบโตให้ธุรกิจได้มากแค่ไหน แล้วถ้า Campaign ไหนที่ไม่สำเร็จ จะมีวิธีการแก้ไข Optimization อย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

การทำ Social Media Marketing ในยุคดิจิทัล คงเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้อีกแล้ว เพราะทุกแบรนด์ต่างแข่งขันกันอย่างดุเดือด ทั้งโลกออนไลน์และออฟไลน์ มันคือเวทีที่ค่อนข้างมีความเท่าเทียมกัน เน้นการประชันกันด้วยความคิดสร้างสรรค์โดยสำหรับบางแบรนด์อาจจะมีการซื้อโฆษณาเข้ามาช่วยในระดับหนึ่ง ซึ่งการทำ Social Media Marketing นั่นก็ไม่ได้จำกัดอยู่แค่แพลตฟอร์มใหญ่ๆ แต่ยังมี Social Media ทางเลือกอีกมากมายให้แบรนด์เลือกใช้ รวมถึงการวางแผนกลยุทธ์ที่จะช่วยปูทางให้แบรนด์ เติบโตได้มากยิ่งขึ้นด้วย